เครื่องหยอดข้าวแบบเรียงแถวและแบบสับหว่าง
นักวิจัย  
นายสมพร หงษ์กง
นายสุริยา โชคเพิ่มพูน
นายบัญชา ล้ำเลิศ
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103001779 ยื่นคำขอวันที่ 24 มิถุนายน 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่การปลูกข้าวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ ในปัจจุบันมีวิธีการปลูกข้าวหลายวิธี เช่น การปลูกข้าวนาดำ การปลูกข้าวนาหว่าน การปลูกข้าวนาไร่ และการปลูกข้าวนาขั้นบันได เป็นต้น ซึ่งการปลูกข้าวในแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่นั้นๆ เช่น ในพื้นที่ราบลุ่มก็จะมีการปลูกข้าวแบบข้าวนาหว่านหรือนาดำ ส่วนในพื้นที่สูง หรือบนดอยก็จะปลูกข้าวแบบข้าวไร่หรือข้าวนาขั้นบันได เป็นต้น การปลูกข้าวในปัจจุบันมีการใช้แรงงานคนน้อย เนื่องจากแรงงานในภาคเกษตรลดลงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีค่าแรงงานสูงทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน รวมทั้งจะใช้เวลาในการผลิตข้าวมาก ทำให้ไม่ทันต่อการทำนาในครั้งต่อไป ทำให้เครื่องจักรกลเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ เข้ามามีบทบาท สามารถทดแทนแรงงานคนได้ในเกือบทุกขั้นตอนของการผลิตข้าวในปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันเครื่องดำนาเข้ามามีบทบาทเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้ใช้งานอีกทางเลือกหนึ่ง แต่เกษตรกรบางส่วนก็ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ได้ เนื่องจากพื้นที่ในการปลูกข้าวน้อย การลงทุนสูง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องหยอดข้าวแบบเรียงแถวและสับหว่าง เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องทุนแรงสำหรับการหยอดข้าวแบบเดิมที่หยอดแบบเป็นแถวและไม่สามารถหยอดแบบสับหว่างได้ ซึ่งการหยอดเมล็ดข้าวที่สามารถเลือกหรือกำหนดตำแหน่งของกอต้นข้าวได้นั้นจะช่วยในการเจริญเติบโต ต้นข้าวได้รับแสงที่ส่องผ่านลงในแปลงนาข้าวได้ และการหยอดในลักษณะแบบแม่นยำ จะช่วยในการกำหนดจำนวนเมล็ดข้าวที่ลงในตำแหน่งได้ดีและส่งผลต่อการแตกกอในทางที่ดีและสามารถกำจัดวัชพืชในแปลงได้ง่ายขึ้น โดยเครื่องหยอดข้าวแบบเรียงแถวและสับหว่างนี้ จะสามารถหยอดได้อย่างแม่นยำ จะเหมาะสมกับเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวแบบหยอดสามารถหยอดได้ทั้งนาแห้งและนาน้ำดม โดยสามารถนำไปพ่วงต่อกับรถไถแบบนั่งขับที่มีการเพลาอำนวยกำลังอยู่ด้านหลังของตัวรถ และสามารถติดตั้งล้อช่วยแรงเพื่อรับกำลังมาควบคุมการทำงานของกลไกของเครื่องหยอดได้หากต้นกำลังเป็นแบบรถไถนาเดินตาม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ. ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง
โทรศัพท์ 043-233000 ต่อ 5100-5101
โทรศัพท์มือถือ 081-5476552
Email skycrow_ann@hotmail.com, unisearch.rmuti@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องหยอดข้าวแบบเรียงแถวและแบบสับหว่าง"