สูตรเยลลี่ข่าพลังงานต่ำ
นักวิจัย  
น.ส.ปัทมา สุภาผล
น.ส.ปาริฉัตร เชื่องสูงเนิน
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103001439 ยื่นคำขอวันที่ 17 พฤษภาคม 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขนมหวานประเภทอมหรือเคี้ยว ได้แก่ลูกอม ลูกกวาด หมากฝรั่ง รวมถึงเยลลี่ เป็นต้น เป็นที่นิยมในกลุ่มเด็กจนถึงกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบในความหวาน หอม เหนียวนุ่ม เป็นขนมเคี้ยวเล่นที่รับประทานได้ง่าย (สุวรรณา,2543) โดยปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคนั้น ๆ คือการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการ (อุมาพร และคณะ,2561) การบริโภคสารให้ความหวานแทนการบริโภคน้้าตาลถือเป็นวิธีลดการบริโภคปริมาณน้ำตาลได้ในวิธีหนึ่งการน้ำสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เยลลี่ข่า เนื่องจากข่ามีคุณสมบัติช่วยในเรื่องของการรักษาโรคมากมายไปด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย อาทิเช่น แก้งท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคน้้ากัดเท้า แก้ลมพิษ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยและยังช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย นอกจากนี้มีการน้ามาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านอาหารที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ท้าให้รสชาติของอาหารมีความหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น ด้านสมุนไพร เครื่องเทศ และด้านความงาม ข่านั้นประกอบด้วยสารสำคัญ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์เยลลี่ข่าพลังงานต่ำ โดยการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคนั้น ๆ คือการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการจากการนำน้ำตาลพลังงานต่ำมาทดแทนน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลซูโครส ในผลิตภัณฑ์เยลลี่ข่า ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผักพื้นบ้านของไทยอีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ. ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง
โทรศัพท์ 043-233000 ต่อ 5100-5101
โทรศัพท์มือถือ 081-5476552
Email skycrow_ann@hotmail.com, unisearch.rmuti@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สูตรเยลลี่ข่าพลังงานต่ำ"