การพัฒนาชุดตรวจสอบเพื่อตรวจสุกรติดโรคปากและเท้าเปื่อย และเซเนก้าไวรัสเอ และการพัฒนาวัคซีนแบบซับยูนิต
นักวิจัย  
ผศ.น.สพ.ดร.เดชฤทธิ์ นิลอุบล และคณะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001740 ยื่นคำขอวันที่ 12 กรกฎาคม 2565
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001741 ยื่นคำขอวันที่ 12 กรกฎาคม 2565
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001765 ยื่นคำขอวันที่ 17 กรกฎาคม 2565
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001766 ยื่นคำขอวันที่ 17 กรกฎาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease, FMD) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในสัตว์กีบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease virus, FMDV) มาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และยังมีโรคอุบัติใหม่อย่างโรคเซเนก้าไวรัสเอที่การติดเชื้อก่อให้เกิดอาการทางคลินิกเหมือนกับโรคปากและเท้าเปื่อยอย่างแยกไม่ออก โดยฟาร์มสุกรในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคเซเนก้าไวรัสเอนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 การติดเชื้อไวรัสเซเนก้าไวรัสเอนี้ส่งผลให้เกษตรกรและสัตวแพทย์ส่วนใหญ่เกิดความสับสน ไม่สามารถวิเคราะห์ แยกแยะ (differential diagnosis) ระหว่างโรคเซเนก้าไวรัสเอจากโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยให้การวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยที่เป็นเชื้อประจำถิ่น และฟาร์มสุกรยังคงประสบปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อยนี้มาอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน ซึ่งยังไม่มีชุดตรวจสอบและวินิจฉัยโรคของทั้งสองชนิดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ และไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรค ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรคอย่างเรื้อรังในฟาร์ม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. พัฒนาและผลิตชุดตรวจสอบปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เลสชนิด Multiplex Real-Time PCR ที่สามารถตรวจวิเคราะห์แยกแยะสุกรที่แสดงอาการโรคทางคลินิกว่ามีสาเหตุจากโรคปากและเท้าเปื่อยหรือเซเนก้าไวรัส
2. พัฒนาชุดตรวจสอบชนิด Strip test และ Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) เพื่อใช้ในการตรวจคัดแยกสุกรที่ติดเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยจากธรรมชาติจากสุกรที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านพันธุวิศวกรรม
3. พัฒนาชุดตรวจสอบแอนติบอดีชนิด Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) เพื่อใช้ในการตรวจการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสุกรที่ติดเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยและเชื้อไวรัสเซเนก้าไวรัสเอ โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านพันธุวิศวกรรมมาใช้ในการผลิตชุดตรวจสอบ โดยการใช้ยีนส่วนโปรตีนโครงสร้าง (Structural protein) ของเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยและนำมาผลิตให้อยู่ในรูปแบบ Bacmid และทำให้เกิดการแสดงออกของยีนในระบบ Baculovirus expression system ในเซลล์แมลง
4. ได้ตัวเริ่มต้นของการพัฒนาวัคซีนวัคซีนชนิดโปรตีนหรือซับยูนิตวัคซีน (Subunit Vaccine) เพื่อใช้ในการป้องกันโรค FMDV และ SVA
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางนฤมล ท้วมเพิ่มทรัพย์
โทรศัพท์ 025797435 ต่อ 3307
โทรศัพท์มือถือ 0897945774
Email narumol@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การพัฒนาชุดตรวจสอบเพื่อตรวจสุกรติดโรคปากและเท้าเปื่อย และเซเนก้าไวรัสเอ และการพัฒนาวัคซีนแบบซับยูนิต"