ไมโครเอนแคปซูเลชันน้ำมันดักแด้ด้วยวิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อประยุกต์ใช้เป็นอาหารฟังก์ชัน (Microencapsulation of silkworm pupae oil using spray drying applying as functional food) |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร. เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และ ผศ.ดร.วิริยา อ่อนสอาด คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002302 ยื่นคำขอวันที่ 17 สิงหาคม 2564 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
วัฒนธรรมการกินแมลงเป็นอาหารที่เรียกว่า “entomophagy” มีความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ดักแด้หนอนไหม (Silk worm pupae) เป็นผลพลอยได้ภายหลังจากการสาวไหมจากอุตสาหกรรมผลิตผ้าไหมที่มีการสาวไหมออกหมด มีรายงานว่าคุณค่าทางอาหารของดักแด้ไหมสดมีโปรตีนสูง แต่ปัญหาการเกิดกลิ่นหืนและกลิ่นไม่พึงประสงค์ของน้ำมันดักแด้เมื่อเก็บเป็นระยะเวลานานเนื่องจากเกิดปฏิกิริยายาออกซิเดชันซึ่งนำไปสู่การเกิดกลิ่นทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นการนำเทคโนโลยี Micro-encapsulation |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ลดการเกิดกลิ่นหืนและกลิ่นไม่พึงประสงค์ของน้ำมันดักแด้เมื่อเก็บเป็นระยะเวลานานเนื่องจากเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันซึ่งนำไปสู่การเกิดกลิ่นทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
น้ำมันดักแด้ผงเป็นผลงานวิจัยผลิตจากน้ำมันดักแด้ไหมผ่านการเตรียมในรูปไมโครเอนแคปซูเลชันด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ไมโครเอนแคปซูเลชันน้ำมันดักแด้ผงที่คงคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งสามารถง่ายในการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นส่วนผสมในอาหารฟังก์ชัน |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
หน่วยจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
โทรศัพท์ |
045433456 ต่อ 3193 |
โทรศัพท์มือถือ |
0902875363 |
Email |
nattanan.n@ubu.ac.th |
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไมโครเอนแคปซูเลชันน้ำมันดักแด้ด้วยวิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อประยุกต์ใช้เป็นอาหารฟังก์ชัน (Microencapsulation of silkworm pupae oil using spray drying applying as functional food)"
|
|