น้ำลายเทียมแบบเจลบอล |
นักวิจัย |
|
รศ.ทพญ.อังคณา เธียรมนตรี
รศ.ภกญ.ขวัญจิต อึ๊งโพธิ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
|
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103001434 ยื่นคำขอวันที่ 24 มีนาคม 2564 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
น้ำลายเทียมที่ผลิตในโรงพยาบาลของรัฐส่วนใหญ่ต้องมีการสั่งยาจากแพทย์หรือทันตแพทย์ โดยจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ใช้น้ำลายเทียม ผู้วิจัยพบว่าน้ำลายเทียมที่ได้จากโรงพยาบาลของรัฐมีรสชาติที่ไม่ดี มีกลิ่นของสารเคมี และอยู่ในรูปแบบของของเหลว ต้องใส่ภาชนะ และใช้การจิบ อาจไม่สะดวกในการพกพาและใช้ โดยเฉพาะในคนไข้ติดเตียงอาจความยากลำบากในการใช้ ส่วนน้ำลายเทียมที่คิดค้นใหม่ในประเทศ เช่น แบบผง แบบวุ้น มีข้อจำกัดในเรื่องความสะดวกในการใช้งานโดยต้องใช้อุปกรณ์เพิ่ม คือภาชนะหรือช้อน ส่วนน้ำลายเทียมที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบน้ำและสเปรย์เป็นสินค้านำเข้าจึงมีราคาที่สูง |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
น้ำลายเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาอาการปากแห้งน้ำลายน้อย ปัจจุบันน้ำลายเทียมมีหลายสูตรและหลายรูปแบบ เช่น น้ำ เจล เม็ด และสเปรย์ เป็นต้น รูปแบบของน้ำลายเทียมที่มีขายอยู่มากที่สุดตามท้องตลาด คือ รูปแบบน้ำ โดยน้ำลายเทียมที่มีขายในท้องตลาดมักจะมีส่วนประกอบหลัก คือ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (carboxymethylcellulose หรือ CMC) น้ำลายเทียมแบบเจลบอล ที่พัฒนาให้มีรสชาติ รูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ และสมบัติที่เหมาะสมในการใช้งาน ได้แก่ ค่าพีเอช ความหนืด รูปแบบการไหล ผิวสัมผัส ความคงตัวในสภาวะเร่ง รวมถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อรสชาติและลักษณะของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้น้ำลายเทียมอย่างต่อเนื่อง สามารถลดอาการปากแห้งได้ ทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองในประเทศลดการนำเข้า ราคาไม่แพง |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ณภัค พันธุ์ช่างทอง |
โทรศัพท์ |
074859514 ต่อ 1402 |
โทรศัพท์มือถือ |
0802692262 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "น้ำลายเทียมแบบเจลบอล"
|
|