สูตรคอมพาวด์พลาสติกผสมวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพ และกรรมวิธีการผลิต
นักวิจัย  
รองศาสตราจารย์ ดร.สุปราณี แก้วภิรมย์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 17451
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สูตรคอมพาวด์พลาสติกผสมวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพ
และกรรมวิธีการผลิต ที่ซึ่งเตรียมได้จากการผสมพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิแลคติกแอซิด (Polylactic acid: PLA) และ/หรือ พอลิบิวทิลีนซักซิเนต (Polybutylene succinate:PBS) เข้ากับวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ที่เลือกได้จากแกลบบด เปลือกทุเรียนบด หรือใบสับปะรดบด อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในสภาพแห้งจากนั้นใส่สารเติมแต่ง ได้แก่ กลีเซอรอล (Glycerol) มาเลอิกแอนไฮไดรด์ (Maleic anhydride) แคลเซียมสเตียเรท (Calcium stearate) และอีรูคาไมด์ (Erucamide) แล้วนำมาผสมให้เข้ากัน ด้วยเครื่องเอกซ์ทรูเดอร์ชนิดเกลียวหนอนคู่ (Twin screw extruder) ซึ่งคอมพาวด์ที่ผสมออกจากเครื่องจะถูกอัดรีดเป็นเส้นยาวจากหัวไดน์ (Die) กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร และหล่อให้เย็นโดยการแช่ในรางน้ำ ก่อนทำการตัดเม็ดด้วยใบมีด
การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสูตรคอมพาวด์พลาสติกผสมวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร
ที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพ โดยเลือกได้จากแกลบบด เปลือกทุเรียนบด หรือใบสับปะรดบด อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและลดต้นทุนด้านวัสดุของไบโอค
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ลดการนำเข้าเมล็ดพลาสติกจากต่างประเทศได้ 20-50%
-บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากสูตรคอมพาวด์จะมีผิวสัมผัสเรียบเนียน มีสมบัติทางกายภาพ และสมบัติเชิงกลที่สม่ำเสมอ
- สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
- สามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่เป็นพิษ
- วัสดุที่ใช้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวศิริพร ทรัพย์โตทิม
โทรศัพท์ 038102222 ต่อ 2969
โทรศัพท์มือถือ 0900411999
Email siripon.sa@buu.ac.th
กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สูตรคอมพาวด์พลาสติกผสมวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพ และกรรมวิธีการผลิต"