น้ำหมักชีวภาพสำหรับลดแอมโมเนียในน้ำชะขยะมูลฝอย และกรรมวิธีการผลิต
นักวิจัย  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาลินี ผลมาตย์
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001936 ยื่นคำขอวันที่ 4 สิงหาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
น้ำหมักชีวภาพสำหรับลดแอมโมเนียในน้ำชะขยะมูลฝอย และกรรมวิธีการผลิต ซึ่งเตรียมได้จากการนำกะหล่ำปลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ฟักเขียว และมะเขือเทศ มาล้างทำความสะอาดและหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปใส่ในถังหมัก เติมน้ำตาลทรายแดงและน้ำสะอาด กวนส่วนผสมให้เข้ากันและปิดฝาถังให้สนิทและหมักเป็นเวลา 21-28 วัน ในที่ร่มแล้วนำมากรองจะได้น้ำหมักชีวภาพ จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 โดยปริมาตร มาเติมลงในน้ำชะขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ในน้ำชะขยะมูลฝอย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณสมบัติมาใช้ลดปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในน้ำชะขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ และสามารถลดระยะเวลาในการลดปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในน้ำชะขยะมูลฝอยได้ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนสูงได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้
ในแหล่งน้ำผิวดินที่มีการปนเปื้อนแอมโมเนีย-ไนโตรเจนได้อีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวศิริพร ทรัพย์โตทิม
โทรศัพท์ 038102222 ต่อ 2969
โทรศัพท์มือถือ 0900411999
Email siripon.sa@buu.ac.th
กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "น้ำหมักชีวภาพสำหรับลดแอมโมเนียในน้ำชะขยะมูลฝอย และกรรมวิธีการผลิต"