สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสำหรับชะลอการสุกของผลไม้
นักวิจัย  
รศ.พรนภา เกษมศิริ และคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003003098 ยื่นคำขอวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การเน่าเสียของผลไม้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียรายได้ สาเหตุการเน่าเสียเกิดจากแก๊สเอทิลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เร่งการสุก หากมีแก๊สเอทิลีนจำนวนมากจะทำให้ผลไม้สุกเร็ว มีอายุการเก็บรักษาสั้นลง ดังนั้นการกำจัดแก๊สเอทิลีนจึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาและคงความสดใหม่ให้ผลไม้ได้ ทำโดยการใช้ปฏิกิริยา Photocatalytic oxidation เพื่อลดการเกิดแก๊สเอทิลีนแต่ปฏิกิริยานี้จะต้องกระตุ้นด้วยแสงและต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาจะตอบสนองได้เฉพาะกับ UV เท่านั้น จึงมีการพัฒนานำอนุภาคนาโนมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเนื่องจากอนุภาคนาโนตอบสนองต่อแสงที่มองเห็นได้ และสามารถสังเคราะห์ได้จากสารสกัดผักผลไม้
ด้วยข้อดีของอนุภาคนาโนดังกล่าว คณะผู้ประดิษฐ์จึงได้ประดิษฐ์กระดาษชะลอการสุกของผลไม้ ซึ่งกระดาษจะถูกเคลือบด้วยสารที่ผ่านการคิดค้นขึ้นโดยเฉพาะ เพียงนำกระดาษไปใส่ในกล่องที่บรรจุผลไม้จะช่วยชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บรักษาของผลไม้ได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ โดยลดการเกิดแก๊สเอทิลีนจากปกติได้ถึง 83.57%
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ได้
- ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- มีผลการทดลองในมะม่วง ซึ่งสามารถช่วยชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงได้นานกว่าปกติ 7 วัน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
จินดาพร พลสูงเนิน
โทรศัพท์ 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ 086-451-4455
Email chinph@kku.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสำหรับชะลอการสุกของผลไม้"