เนื้อปลาแซลม่อนเทียม
นักวิจัย  
ผศ.อัมพร แซ่เอียว
ผศ.ศุภวรรณ ถาวรชินสมบัติ
นางสาวสุภาวดี ตลอดไธสง
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001174 ยื่นคำขอวันที่ 12 พฤษภาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พืชหลายชนิดมีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่เทียบเท่าจากสัตว์ จึงมีการนำพืชโปรตีนสูงเหล่านี้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โปรตีนถั่วเหลือง โปรตีนกลูเตน โปรตีนถั่ว และโปรตีนจากเห็ด ซึ่งเป็นทางเลือกในการสร้างกล้ามเนื้อและผู้สูงอายุที่จะเลือกบริโภคเพื่อให้ได้โปรตีนทดแทนจากเนื้อสัตว์
ปัญหาที่พบเมื่ออายุมากขึ้นคือ ปัญหามวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้เกิดข้อจำกัดที่มีผลกระทบในการทำกิจวัตรประจำวันหลายอย่าง เช่น เคลื่อนไหวช้าลง ไม่สามารถยืนได้เป็นระยะเวลานานๆ ดังนั้นการบริโภคโปรตีนสำหรับผู้สูงอายุให้ครบถ้วนตามข้อแนะนำจึงมีความจำเป็น เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายสลายโปรตีนในกรณีที่ได้รับพลังงานไม่เพียงพอ แต่การบริโภคโปรตีนจากสัตว์ที่มากเกินไปในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดปัญหาการย่อยเนื้อสัตว์ที่รับประทานเข้าไปไม่หมด
ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์จึงทำเนื้อปลาแซลม่อนเทียมที่มีถั่วพีและเห็ดเป็นแหล่งโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นในการสร้างมวลกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีนหรือผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ทางเลือกดังกล่าวเพื่อทดแทนการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- มีปริมาณโปรตีน 5.21% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งสูงกว่าแซลมอนเทียมเชิงการค้า (คิงส์แซลมอน และ แซลมอนนอร์เวย์) มากกว่า 20 เท่า มีกรดอะมิโนที่สำคัญ คือ Lysine 12.11% รองลงมาคือ Leucine 3.59% ของน้ำหนักแห้ง และกรดอะมิโนที่จำเป็นอื่นๆ ตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
- มีราคาถูกว่าผลิตภัณฑ์แซลมอนเทียมเชิงการค้าประมาณ 5 เท่า
- มีผลทดสอบความพึงพอใจด้านประสาทสัมผัสในกลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 55 คน ในภาพรวมมีความพึงพอใจปานกลางถึงมากในด้านเนื้อสัมผัส
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
จินดาพร พลสูงเนิน
โทรศัพท์ 043-202-733
โทรศัพท์มือถือ 086-451-4455
Email chinph@kku.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เนื้อปลาแซลม่อนเทียม"