ปุ๋ยชีวภาพแบบอัดเม็ด |
นักวิจัย |
|
ผศ.นันทวัน ฤทธิ์เดช และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203000227 ยื่นคำขอวันที่ 28 มกราคม 2565 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
การทำการเกษตร เกษตรกรมักใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน แต่หากใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณสูงเกนความต้องการของพืชจะทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีภายในดิน ส่งผลกระทบต่อหน้าดินในระยะยาว
ปุ๋ยจุลินทรีย์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งปุ๋ยจุลินทรีย์ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในระยะยาว ช่วยฟื้นฟูสภาพดินหลังการปลูกพืช แต่ข้อจำกัดของการใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์คือ แบคทีเรียจะมีอายุสั้นและโอกาสในการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนในดินต่ำ จึงมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัสดุพาหะเพื่อรักษาสภาพเซลล์ของแบคทีเรียให้อยู่รอดได้เป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มจำนวนได้ดี ซึ่งวัสดุที่ใช้ในปัจจุบันจะนิยมใช้วัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น หางนม พีมอส เป็นต้น ซึ่งมีข้อจำกัดคือ วัสดุพาหนะเหล่านี้มีราคาสูง มีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนและต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำ
คณะผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดค้นวิจัยปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด จากแบคทีเรีย โดยใช้วัสดุธรรมชาติได้แก่ เถ้าแกลบ ดินร่วนปนทราย และแป้งมันสำปะหลังซึ่งหาได้ง่าย และมีราคาไม่แพงอีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกด้วย |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
- เชื้อแบคทีเรียมีชีวิตรอดยาวนานถึง 60 วันภายหลังจากการผลิตเป็นปุ๋ยอัดเม็ด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนแบคทีเรียเริ่มต้น
- ปุ๋ยชีวภาพที่ผสมแบคทีเรียมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จินดาพร พลสูงเนิน |
โทรศัพท์มือถือ |
086-451-4455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ปุ๋ยชีวภาพแบบอัดเม็ด"
|
|