แผ่นไฮโดรเจลเพื่อฟื้นฟูสภาพผิวหนัง |
นักวิจัย |
|
ดร.พิมพ์พร อุทยารัตน์
และคณะวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 19202 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
บาดแผลที่เกิดขึ้นบนผิวหนังจำเป็นต้องใช้วัสดุปิดแผลปกคลุม เพื่อป้องกันร่างกายจากการสูญเสียน้ำและการติดเชื้อ ปัจจุบันผ้าก๊อซหรือผ้าตาข่ายยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่โดยทั่วไป อย่างไรก็ดีเนื้อเยื่อผิวหนังที่สร้างขึ้นมาใหม่มักจะเกี่ยวพันตามช่องว่างของผ้าก๊อซ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดเมื่อต้องลอกผ้าก๊อซออกจากผิวหนังระหว่างการทำแผล ดังนั้นแผ่นไฮโดรเจลที่มีน้ำอยู่ในโครงสร้างคล้ายคลึงกับเนื้อเยื่อผิวหนังในธรรมชาติจึงตัวเลือกที่ดีในการนำมาใช้ทำแผลแทนผ้าก๊อซ โดยแผ่นไฮโดรเจลสามารถยึดเกาะแนบสนิทกับผิวหนัง ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อลอกออก และที่สำคัญสามารถถ่ายเทความชุ่มชื้น หรือดูดซับคราบของเหลวส่วนเกินจากแผลมาเก็บไว้ในโครงสร้าง ทำให้เกิดสภาวะความชุ่มชื้นที่พอเหมาะ (moist wound environment) ต่อการสมานแผล ซึ่งเหมาะกับแผลแห้งหรือแผลที่มีความแฉะเล็กน้อย นอกจากนี้แผ่นไฮโดรเจลยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บำรุงผิวเพื่อความสวยงาม เช่น มาส์กใต้ตา และมาส์กหน้า |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• แผ่นไฮโดรเจลที่มีน้ำอยู่ในโครงสร้างมากกว่า 90 % สามารถยึดเกาะบนผิวหนังได้ดี และลอกออกได้ง่าย
• แผ่นไฮโดรเจลถูกพัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการฉายรังสีจากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด โดยอาศัยอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างรังสีอิเล็กตรอนกับน้ำในการเชื่อมขวางโมเลกุลของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์เข้าด้วยกันให้เกิดเป็นโครงสร้างเจลที่แข็งแรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเชื่อมขวางที่อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษกับร่างกายหรือเหลือทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม
• เทคโนโลยีการขึ้นรูปไฮโดรเจลสามารถปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ได้ในขั้นตอนเดียวกัน โดยปราศจากการใช้สารกันเสีย จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองต่อผิวหนัง |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ดร.พิมพ์พร อุทยารัตน์ |
โทรศัพท์ |
024019889 ต่อ 5990 |
โทรศัพท์มือถือ |
080-585-8245, 0957582754 |
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผ่นไฮโดรเจลเพื่อฟื้นฟูสภาพผิวหนัง"
|
|