กรรมวิธีสำหรับการผลิตแพลงตอนสัตว์จากเศษอาหารและน้ำทิ้งของเสียจากการประกอบอาหาร
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ชลธี ชีวะเศรษฐธรรม
รศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1901001460 ยื่นคำขอวันที่ 12 มีนาคม 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เศษอาหารหรือน้ำหมักจากเศษอาหารหรือน้ำทิ้งจากการประกอบอาหาร ที่มีค่าซีโอดีเท่ากับหรือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร มีสารประกอบต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรก็ตามวิธีที่พัฒนาขึ้นที่มีอยู่เดิม เช่น ในกรณีของ US Patent No. 6,416,993 (2002) ต้องมีระบบถังปฏิกรณ์แบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Photoreactor) ส่วนในกรณีของ US Patent No. 6,896,804 (2005) ต้องมีโครงสร้างแบบเรือนกระจก หรือในกรณีของ US Patent No. 7,182,966 (2007) มีการใช้สารเคมีกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (Biocides) ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้ระบบมีต้นทุนสูง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เพื่อเพิ่มแนวทางใหม่ในการใช้ประโยชน์เศษอาหารหรือน้ำทิ้งจากการประกอบอาหาร โดยดำเนินการได้ในระบบเปิดตัวอย่างเช่นแบบบ่อดิน หรือ บ่อซีเมนต์ ไม่จำเป็นต้องมีระบบถังปฏิกรณ์แบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Photoreactor) ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างแบบเรือนกระจก และไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (Biocides) จึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในการสร้างระบบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ณภัค พันธุ์ช่างทอง
โทรศัพท์ 074859514 ต่อ 1402
โทรศัพท์มือถือ 0802692262
Email napak.p@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีสำหรับการผลิตแพลงตอนสัตว์จากเศษอาหารและน้ำทิ้งของเสียจากการประกอบอาหาร"