กรรมวิธีการผลิตไบโอแคลเซียม
นักวิจัย  
ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล และคณะ
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103001061 ยื่นคำขอวันที่ 9 เมษายน 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปลาแล่และผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา เช่น เนื้อปลาบด เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งในระหว่างกระบวนการแล่ปลาหรือแยกเนื้อเพื่อใช้เป็นปลาบดนั้น ก่อให้เกิดเศษเหลือหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงปลา กระดูกปลาจัดเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับการผลิตไบโอแคลเซียม เนื่องจากในกระดูกปลามีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 34-36% แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากกระดูกปลานั้นยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการนำไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องกลิ่นคาว (fishy odor) และการเปลี่ยนแปลงสี ของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสาเหตุหลักจากเลือดที่ตกค้างในกระดูกและปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในผลิตภัณฑ์
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรรมวิธีการผลิตไบโอแคลเซียมจากหัวและโครงปลาเศษเหลือ ตามการประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเศษเหลือจากอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำคือหัวและโครงปลาที่ผ่านการแล่เนื้อหรือแยกเนื้อออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงปลาเศษเหลือที่จะทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความมั่นคงและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งกระบวนการที่พัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการใหม่ที่ยังไม่การใช้งานในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ผลจากการประดิษฐ์นี้ยังใช้เป็นข้อมูลให้กับอุตสาหกรรมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แคลเซียมจากสัตว์น้ำอื่นต่อไป รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ณภัค พันธุ์ช่างทอง
โทรศัพท์ 074859514 ต่อ 1402
โทรศัพท์มือถือ 0802692262
Email napak.p@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผลิตไบโอแคลเซียม"