นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำเพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง
นักวิจัย  
รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201005076 ยื่นคำขอวันที่ 11 สิงหาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปกติการให้น้ำของไม้ผลเขตร้อนมีความหลากหลาย ตามสภาพพื้นที่ทั้งที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงและที่ดอน ทำให้คุณภาพของผลผลิตที่ได้มีคุณภาพที่แตกต่างกันไป การให้น้ำของเกษตรกรแม้จะมีการแนะนำของกรมวิชาการเกษตรแล้วก็ตามก็ยังไม่สามรถปฏิบัติได้เหมือนกันทุกพื้นที่ ภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ ทั้งที่ไม้ผลที่ปลูกเป็นพืชชนิดเดียวกัน อาทิเช่น มะม่วง ที่ดำเนินสะดวก นนทบุรี และอุดรธานี มีกลิ่นหอม รสชาติแตกต่างกันพอสมควร สิ่งที่ทำให้คุณภาพแตกต่างคือการจัดการน้ำและธาตุอาหารที่เหมาะสม ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางตอนล่างมีลักษณะการทำสวนผลไม้ที่พิเศษคือมีปัจจัยของน้ำขึ้น น้ำลงตามธรรมชาติ โดยในแต่ละวันจะมีปริมาณของน้ำขึ้นและน้ำลงไม่เท่ากันและน้ำเค็ม ทำให้พืชเกิดความเครียดที่เหมาะสม ส่งผลต่อการสร้างเนื้อของผลให้มีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น รสชาติที่ดีขึ้น ถ้าในพื้นที่ดอนไม่สามารถเกิดสภาพแบบที่ลุ่มน้ำได้ ทำให้คุณภาพและรสชาติแตกต่างกันไป หรือความอร่อยแตกต่างกันไป หากต้องการให้มีคุณภาพหรือรสชาติที่ดีเหมือนที่ลุ่มน้ำต้องมีการจัดการอย่างไร เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มคุณภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผลไม้ไทย เป็นตรึงใจในรสชาติที่หาที่
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำสำหรับการผลิตทุเรียนและผลไม้เขตร้อนคุณภาพสูง ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการผลิตไม้ผลในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งมีลักษณะการทำสวนผลไม้ที่พิเศษคือมีปัจจัยของน้ำขึ้น น้ำลงตามธรรมชาติ โดยในแต่ละวันจะมีปริมาณของน้ำขึ้นและน้ำลงไม่เท่ากันและน้ำเค็ม ที่ทำให้พืชเกิด Stress หรือความเครียดที่เหมาะสม ส่งผลต่อการสร้างเนื้อของผลให้มีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น รสชาติที่ดีขึ้น และ ได้ทำการทดสอบที่แปลงปลูกทุเรียน จังหวัดปราจีนบุรี ในช่วงฤดูกาลผลิตทุเรียนปี 2565 พบว่า ต้นทุเรียนที่ใช้นวัตกรรม มีร้อยละน้ำหนักแห้งที่ 34 มากกว่ามาตรฐานการส่งออกทุเรียนของประเทศไทยที่กำหนดไว้ที่ ร้อยละน้ำหนักแห้ง 32 โดยใช้เวลาในการผลิตเพียง 90 วัน จากปกติ 120 วัน สำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง นวัตกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสวนผลไม้ที่มีความพร้อมทางเทคโนโลยี IoT และการทำสวนผลไม้แบบดั้งเดิม โดยคำนึงถึงระบบน้ำที่สามารถตอบโจทย์การทำงานให้สอดคล้องกับนวัตกรรมได้ เพื่อการจัดการน้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มเนื้อสัมผัส รสชาติกลิ่นของผลไม้เขตร้อนให้ดียิ่งขึ้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ธนวัฒน์ โชติวรรณ
โทรศัพท์มือถือ 0888465455
Email tanawatchotivan@gmail.com
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมการจัดการน้ำและธาตุอาหารแบบลุ่มน้ำเพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง"