นวัตกรรมชักนำระบบราก เพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง
นักวิจัย  
รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora เป็นปัญหาหลักของการผลิตผลไม้เขตร้อน ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลไม้ พบมากในเขตเอเชียตะวันเฉียงใต้ สามารถพบได้ในยาง โกโก้ ทุเรียน ขนุน มะละกอ มะพร้าว สวนวนเกษตร และพืชตระกูลส้ม ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลไม้เขตร้อนในประเทศไทย ในงานที่ผ่านมามีการจัดการกับเชื้อด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน แต่มีความเหมือนกันคือ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทำให้เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคอย่าง Phytophthora ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยกรรมวิธีการทำรากลอย ด้วยการสร้างชั้นคีเลตบนผิวดิน ด้วยการใช้เชื้อรา แบคทีเรีย ที่ใช้อากาศหายใจแบบองค์รวม ร่วมกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในธรรมชาติ สามารถช่วยทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora ในทุเรียนได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
นวัตกรรมการชักนำระบบราก เพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง คือการสร้างระบบนิเวศน์หน้าดิน โดยการใช้เม็ดบีดที่มีความพรุนสูง ในการกักเก็บจุลินทรีย์รวมที่มีประโยชน์ และสามารถปลดปล่อยจุลินทรีย์ไปสร้างระบบนิเวศน์หน้าดิน ร่วมกับการใช้ใบไม้แห้ง ฟาง หรือหญ้าแห้ง วางบนท่ออากาศที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดBiome และชั้นฮิวมัส จากนั้น Biome จะสร้างชั้นคีเลทขึ้นมา เพื่อทำการปลดปล่อยธาตุอาหารให้อยู่ในสภาวะที่รากพืชสามารถดูดซึมได้ และทำให้รากพืชเจริญเติบโตในชั้นฮิวมัสเพื่อดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และ สารเคมีทางการเกษตรลงได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านอารักขาพืชลงได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ธนวัฒน์ โชติวรรณ
โทรศัพท์มือถือ 0888465455
Email tanawatchotivan@gmail.com
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมชักนำระบบราก เพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง"