การออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์สองมิติแบบผสมที่ขึ้นรูปโดยปราศจากสารยึดเกาะเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเอทิลีนจากไบโอเอทานอล
นักวิจัย  
1. ผศ.ดร. จุฬารัตน์ วัฒนกิจ
2. น.ส. ชฎาทิพ รอดอ่วม
3. ดร. อนวัช ทิวะศะศิธร์
4. ดร. ศุภกร ตันติศรียานุรักษ์
5. ดร. มาริสา เกตุแก้ว
6. น.ส. อณิษฐา ประเสริฐทรัพย์
7. น.ส. พลอยชนก เอียดรัตน์
8. นาย พีรณัฐ ชัยพรเฉลิม
9. น.ส. วาทินี นันทกิจโกศล
10.นาย สรศักดิ์ กลิ่นยอด
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201000898 ยื่นคำขอวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001004512 ยื่นคำขอวันที่ 11 สิงหาคม 2563
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001714 ยื่นคำขอวันที่ 9 กรกฎาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากนโยบายการพัฒนาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงเอทานอลและแผนพัฒนาภายใต้ BCG Model โครงการวิจัยนี้เป็นการเสนอแนวทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารเคมีชีวภาพประเภทไบโอเอทิลีน (Bioethylene) จากไบโอเอทานอล ซึ่งได้จากแหล่งชีวภาพ โดยทั่วไปสารประกอบจำพวกเอทิลีนถือเป็นสารผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตสารผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
กระบวนการผลิตสารประกอบโอเลฟินส์จากไบโอเอทานอลสามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการดีไฮเดรชัน อาศัยตัวเร่งปฏิกิริยาหลากหลายประเภท เช่น ซีโอไลต์ (Zeolite) อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีประเภทซีโอไลต์แบบดั้งเดิมที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องทำการอัดขึ้นรูปก่อนนำไปใช้งานจริง โดยวิธีที่นิยมใช้ในการขึ้นรูปนั้นสามารถใช้การขึ้นรูปด้วย ระบบแม่พิมพ์ และระบบไฮดรอลิก แต่ยังคงมีข้อจำกัดของการสูญเสียประสิทธิภาพเนื่องจากการผสมสารที่ใช้ในการขึ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผสมระหว่างสารประกอบของซีโอไลต์ชนิด ZSM-5 ที่มีรูพรุนลำดับขั้นเป็นแกนกลางและเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์เป็นเปลือกหุ้ม โดยสามารถทำการสังเคราะห์และผ่านการขึ้นรูปโดยปราศจากสารยึดเกาะ เพื่อนำมาใช้สำหรับกระบวนการผลิตเอทิลีนจากไบโอเอทานอล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของตัวเร่งปฏิกิริยา รวมทั้งลดปัญหาการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาจากต่างประเทศ เพื่อใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม
1. พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ประกอบไปด้วยซีโอไลต์แบบสองมิติเป็นแกนกลาง และสารประกอบเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์เป็นเปลือกหุ้ม ที่ขึ้นรูปโดยปราศจากสารยึดเกาะ
2. ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้น เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเอทิลีนที่มีความจำเพาะเจาะจงสูง (มากกว่าร้อยละ 90) ผ่านปฏิกิริยาการกำจัดน้ำของสารประกอบไบโอเอทานอลในระด้บโรงงานต้นแบบ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.จุฬารัตน์ วัฒนกิจ
โทรศัพท์ +66(0)33014255
Email chularat.w@vistec.ac.th
Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology (VISTEC)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์สองมิติแบบผสมที่ขึ้นรูปโดยปราศจากสารยึดเกาะเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเอทิลีนจากไบโอเอทานอล"