โฟมยางธรรมชาติสำหรับวัสดุดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศ
นักวิจัย  
ดร. เยี่ยมพล นัครามนตรี
นางสาวพรศิริ โต๊ะแอ
นางสิริลักษณ์ เจียรากร
นายประชิด สระโมฬี
นายเอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001305 ยื่นคำขอวันที่ 27 พฤษภาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย เช่น เบนซีน โทลูอีน ไซลีน สไตรีน อะซิโตน เอทานอล และฟอร์มอลดีไฮด์ จัดเป็นสารมลพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกคนมีโอกาสสัมผัสในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยสารระเหยดังกล่าวมีแหล่งที่มากจากของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ สถานีบริการน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียของยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารอนินทรีย์และเป็นวัสดุกึ่งตัวนำไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบำบัดอากาศ ที่มีสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลเล็ก โดยไทเทเนียมไดออกไซด์จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสง จะสามารถทำลายโครงสร้างทางเคมีของสารระเหยดังกล่าวได้ และมีการนำมาประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์ฟอกอากาศ จากแนวคิดนี้ หากนำไทเทเนียมไดออกไซด์มาผสมกับน้ำยางพาราธรรมชาติ เพื่อสร้างโฟมยางที่มีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศได้ รวมถึงสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพารา และสร้างรายได้ให้กับเกษตกรอีกทาง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
โฟมยางธรรมชาติที่มีคุณสมบัติดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศ (เบนซีน โทลูอีน ไซลีน สไตรีน และฟอร์มอลดีไฮด์) ซึ่งประกอบด้วย น้ำยางธรรมชาติ สารช่วยการเกิดฟอง กำมะถัน สารตัวเร่งปฏิกิริยา สารกระตุ้นปฏิกิริยา สารต้านการเสื่อมสภาพ สารตัวเติมที่ทำปฏิกิริยากับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศ และสารช่วยให้ฟองยางจับตัว นอกจากนี้ ได้เพิ่มประสิทธิภาพของโฟมยางในการดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยผสมวัสดุกึ่งตัวนำไฟฟ้า ที่สามารถทำลายโครงสร้างทางเคมีของสารระเหยที่มีโมเลกุลเล็กได้ ผ่านการเร่งปฏิกิริยาภายใต้แสง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซับเป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตและช่วงแสงที่มองเห็นได้ และสามารถประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่สัมผัสกับสารประกอบอินทรีย์สารระเหยง่ายในชีวิตประจำวัน หรือใช้เป็นวัสดุตกแต่งภายในอาคารเพื่อดูดซับสารมลพิษภายในอาคารได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร. วีรชัย พงษ์กิตติพันธ์
โทรศัพท์ 024709626
Email tto@kmutt.ac.th
งานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "โฟมยางธรรมชาติสำหรับวัสดุดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศ"