เจลไพลบาล์ม GEL PLAI BALM
นักวิจัย  
ดร.วรวรรณ เตียตระกูล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803002029 ยื่นคำขอวันที่ 10 กันยายน 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
แต่เดิมจะมีการสกัดนำมันไพลแล้วนำมาผสมในปริมาณที่มากแต่ก็พบว่าน้ำมันในปริมาณที่มากเกินไปสามารถก่อการระคายเคืองได้ ในปัจจุบันจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยลดความเข้มข้นของน้ำมันไพลแต่สามารถให้ฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่น้ำมันนวด ครีมไพล ยาหม่องไพล ซึ่งจากเจลไพล์บาล์มในสูตรเดิมยังคงมีปัญหาจากน้ำมันไพล 3 ประการหลักๆคือ 1. มีกลิ่นฉุนและมีความมันบนผิวหนัง 2. ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังต่ำ 3. ออกฤทธิ์สั้นทำให้ต้องทาบ่อยครั้ง จึงได้มีการพัฒนา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สูตรยาทาเจลไพลบาล์มนี้ขึ้นมาโดยน้ำมันไพลจะถูกกักเก็บอยู่ในอนุภาคขนาดเล็กทำให้ยาทาเจลไพลบาล์มนี้มีคุณสมบัติแตกต่างไปคือ 1.ควบคุมการปลดปล่อย 2.เพิ่มความคงตัว และการซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนัง และ 3.ออกฤทธิ์ได้นาน 12 ชั่วโมงผลิตภัณฑ์เจลไพลบาล์มชนิดใสเพื่อควบคุมการปลดปล่อยและเพิ่มประสิทธิภาพการนำส่งสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านอักเสบและปวดบวมดังกล่าว ที่มีความเข้มข้นน้ำมันไพล ร้อยละ 5-15 โดยน้ำหนัก กักเก็บในตํารับเจลเบสที่มีโพลอกซาเมอร์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 15-20 โดยน้ำหนัก สามารถเพิ่มการละลาย ช่วยควบคุมการปลดปล่อยและเพิ่มประสิทธิภาพการนำส่งสารสำคัญเทอร์พินีนโฟร์ออลเข้าสู่ผิวหนัง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความคงตัวดีในระยะเวลา 6 เดือน ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
พรรณนิภา คณาณุวัฒน์
โทรศัพท์ 025779438
Email pannipa@tistr.or.th
กองบริการธุรกิจนวัตกรรม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เจลไพลบาล์ม GEL PLAI BALM"