ชุดสกัดเก่ง: ชุดสกัดดีเอ็นเอที่ไม่ต้องใช้เซนตริฟิวจ์ (รุ่นดูดเก่ง)
นักวิจัย  
ดร.ธนพัฒน์ แพ่งเกษร
นายธีรภัทร มีคง
นายกุศล แซ่ลี
บริษัท สกัดเก่ง จำกัด
ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
และ หน่วยธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2101000753 ยื่นคำขอวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ชุดสกัดดีเอ็นเอเป็นสินค้าที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด โดยชุดสกัดดีเอ็นเอในท้องตลาดทั้งหมดในปัจจุบันใช้หลักการร่วมกันคือ การตรึงดีเอ็นเอให้ยึดติดบนคอลัมน์ที่ทำจาก ซิลิก้า โดยการนำตัวอย่างที่ต้องการสกัด อาทิ ตัวอย่างเลือดที่ผ่านการย่อยแล้ว นำมาไหลผ่านคอลัมน์ คอลัมน์จะตรึงเอาไว้เฉพาะดีเอ็นเอ และปล่อยให้สารชีวโมเลกุลอื่น ๆ ไหลออกจากคอลัมน์ไป แล้วจึงชะเอาดีเอ็นเอที่บริสุทธิ์ออกมา กระบวนการที่จะทำให้สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ รวมถึงดีเอ็นเอ สามารถหลุดออกจากคอลัมน์ได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูง ทำให้เกิดข้อจำกัดในห้องปฏิบัติการที่ไม่มีเครื่องมือดังกล่าว นอกจากนี้ ชุดสกัดดีเอ็นเอรูปแบบเดิมยังไม่สามารถใช้ในการสกัดดีเอ็นเอนอกห้องปฏิบัติการได้ เช่น การสกัดดีเอ็นเอในพื้นที่ระบาดและห่างไกล หรือการตรวจวินิจฉัย ณ จุดตรวจ (point-of-care) เนื่องจากเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูงมีขนาดที่ใหญ่และน้ำหนักที่มาก ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย

ชุดสกัดดีเอ็นเอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดโดยทั้งหมด จะมีลักษณะเดียวกัน คือ ประกอบไปด้วยหลอดพลาสติกสองชิ้น ชิ้นแรกทำหน้าที่บรรจุคอลัมน์สำหรับตรึงดีเอ็นเอ ช
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ชุดสกัดเก่ง ได้ผ่านการทดสอบการใช้งานในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็น โรงเรียน มหาวิทยาลัยและงานสัมมนาแล้ว เช่น คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนจักราชวิทยา คณะสหเวชศาสตร วิทยาลัยนครราชสีมา และงาน BioArt Thailand2022 โดยตอบโจทย์ทั้งการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และออนไซต์
ในงานนี้ สกัดเก่งมีความุ่งหวังที่เจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยใช้จุดเด่นของเทคโนโลยีที่สำคัญ คือ 1) ราคาที่ถูกกว่าชุดสกัดดีเอ็นเอในท้องตลาดถึง 2 เท่า 2) มีขั้นตอนที่ง่ายไม่ซับซ้อน เพียงแค่ดูดสารละลายขึ้นลงเท่านั้น 3) ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องทำอุณหภููมิสำหรับบ่มเอนไซม์ หรือปิเปตอัตโนมัติ และ 4) สามารถสกัดดีเอ็เอได้ทุกที่ แม้ไม่มีเครื่องเซนตริฟิวจ์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา (UP-TLO)
โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 3076 , 3712-16
Email uptlo.up@gmail.com
สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดสกัดเก่ง: ชุดสกัดดีเอ็นเอที่ไม่ต้องใช้เซนตริฟิวจ์ (รุ่นดูดเก่ง)"