วิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae |
นักวิจัย |
|
รศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย
และคณะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2101005177 ยื่นคำขอวันที่ 1 กันยายน 2564 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
พืชกระท่อมเป็นพืชที่มีสารจำพวกอัลคาลอยด์ที่มีผลในทางเภสัชศาสตร์ มีสรรพคุณช่วยในเรื่องของการแก้ท้องร่วง และระงับอาการปวด ซึ่งสรรรพคุณในทางการแพทย์ของพืชกระท่อม มาจากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถสกัดออกมาได้ด้วยกรรมวิธีต่างๆ โดยในปัจจุบันกฏหมายได้อนุญาตให้ใช้พืชกระท่อมในทางการแพทย์ได้ ส่งผลให้มีผู้ป่วยหันมาใช้ยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชกระท่อมมากขึ้น และเกษตรกรนิยมปลูกพืชกระท่อมมากขึ้น ทำให้พืชกระท่อมเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางเภสัชศาตร์และสามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย
กระบวนการสกัดพืชกระท่อมมีหลายวิธีโดยแต่ละวิธีให้ผลลัพท์ของสัดส่วนสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพแตกต่างกัน วิธีการสกัดตามคำขอรับสิทธิบัตรนี้เป็นวิธีการสกัดใบกระท่อมที่ได้สัดส่วนของสาร 7-ไฮดรอกซีมิทราไจนีนสูงกว่าวิธีอื่นๆ โดยสัดส่วนของสารสำคัญประเภทอื่นๆอยู่ในระดับที่เหมาะสม |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
มีสรรพคุณช่วยในเรื่องของการแก้ท้องร่วงและระงับการปวด
เป็นวิธีการสกัดใบกระท่อมที่ได้สัดส่วนของสาร 7-ไฮดรอกซีมิทราไจนีนสูง และสัดส่วนของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นที่เหมาะสม
มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากสามารถประยุกต์ได้ด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ทั่วไป
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวอธิฌา สร้อยนาค |
โทรศัพท์มือถือ |
098-6624992 |
Email |
athicha.soi@mahidol.edu, int@mahidol.ac.th |
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae"
|
|