Freeze drying
นักวิจัย  
รศ.ดร.เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์ และ คณะวิจัย
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001951 ยื่นคำขอวันที่ 14 สิงหาคม 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
แมงกะพรุนชนิดกินได้มีการนำมาทำเป็นเมนูอาหารที่นิยมบริโภคตามภัตตาคารจีนหรือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของแมงกะพรุนคือมีโปรตีนคอลลาเจน มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำมาก จึงจัดเป็นอาหารแคลอรี่ต่ำ โดยแมงกะพรุนสดจะผ่านการดองเกลือเพื่อให้เก็บได้นาน ไม่เน่าเสีย เมื่อนำมาบริโภคต้องมีการล้างเกลือ จะได้ลักษณะเนื้อแมงกะพรุนที่มีสีขาว ไม่มีรสชาติ แต่ได้ความกรุบกรอบจากโปรตีนคอลลาเจน ด้วยข้อจำกัดของโปรตีนคอลลาเจนที่จะเสียสภาพได้ง่ายเมื่อนำไปต้มหรือทอดได้ลักษณะที่แห้งแข็ง จึงทำให้การแปรรูปแมงกะพรุนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ยังมีจำนวนน้อย ทางทีมวิจัยจึงได้นำเอากระบวนการการแช่เยือกแข็งอบแห้งร่วมกับการใช้สารไครโอโพรเทกแทนต์ทำให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์แมงกะพรุนกรอบที่สามารถนำมาปรุงรสชาติ เช่น รสน้ำมันงาได้ ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บได้นานที่อุณหภูมิห้อง และ เป็นอาหารขบเคี้ยวที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีนคอลลาเจนทำให้รู้สึกอิ่ม ให้แคลอรี่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. สามารถผลิตผลิตภัณฑ์แมงกะพรุนในรูปแบบของอาหารขบเคี้ยว ที่มีความกรอบ
2. ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บได้นาน ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักเบา
3. สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
4. เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างเครื่องมือได้เอง
5. เป็นเทคโนโลยีที่มีการนิยมใช้กันอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
รองศาสตราจารย์ ดร. เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์
โทรศัพท์ 02-5552000 ต่อ 4709
โทรศัพท์มือถือ 0991853164
Email benjawan.t@sci.kmutnb.ac.th
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "Freeze drying"