วัสดุดูดซับจากเส้นใยสับปะรดไมโคร |
นักวิจัย |
|
รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย
และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003002573 ยื่นคำขอวันที่ 1 มกราคม 2563 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
การกำจัดโลหะหนักสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ตัวดูดซับ การเปลี่ยน ไอออน การกรองด้วยเมมเบรน เป็นต้น บางวิธีมีความสามารถในการดูดซับต่ำ บางวิธีใช้พลังงานในการกำจัดสูงรวมทั้งต้องใช้เทคโนโลยีสูง ราคาแพง ดังนั้นการใช้พอลิเมอร์เป็นตัวดูดซับจึงเป็นวิธีที่ได้รับความสนใจแพร่หลาย โดยเฉพาะการใช้พอลีเอทิลีนอีมีน (Polyethyleneimine) หรือ พีอีไอ (PEI) ซึ่งสามารถจับกับไอออนโลหะหนักได้ดี พีอีไอยังถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในวงการศึกษา และอุตสาหกรรม และถูกนำมาใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหลายชนิด โดยนำมาตรึงลงบนวัสดุต่างๆ เพื่อให้สามารถแยกวัสดุดูดซับที่ใช้แล้วออกจากของเหลวได้ง่าย
การดูดซับของอีพีไอบนเส้นใยเซลลูโลสเกิดจากแรงดึงดูตามธรรมชาติของความมีขั้วของโมเลกุล ถึงไม่ถาวร สามารถหลุดออกได้
ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาวัสดุดูดซับตามการประดิษฐ์นี้ โดยใช้ใบสับปะรดมาเป็นวัสดุรองรับอีพีไอ เนื่องจากเป็นเส้นใยที่มีเซลลูโลสสูง มีขนาดพื้นที่ผิวมากกว่าเส้นใยปาล์มและเส้นใยฝ้าย จึงเกิดแรงดึงดูดกับพีอีไอได้ดี ทำให้สามารถตรึงพีอีไอได้มากกว่าเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ จึงสามารถนำไปใช้ในการกำจัดไอออนโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำเสียได้
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
วัสดุดูดซับจากเส้นใยสับปะรดไมโคร ใช้ใบสับปะรดมาเป็นวัสดุรองรับอีพีไอ เนื่องจากเป็นเส้นใยที่มีเซลลูโลสสูง มีขนาดพื้นที่ผิวมากกว่าเส้นใยปาล์มและเส้นใยฝ้าย จึงเกิดแรงดึงดูดกับพีอีไอได้ดี ทำให้สามารถตรึงพีอีไอได้มากกว่าเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ จึงสามารถนำไปใช้ในการกำจัดไอออนโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำเสียได้ มีอัตราการดูดซับที่สูง รวดเร็ว สามารถแยกออกได้ง่ายและสะดวก ทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการแยกแก๊สที่เป็นอันตรายได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอร์มัลดดีไฮด์ ออกจากอากาศได้ง่าย |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวอธิฌา สร้อยนาค |
โทรศัพท์มือถือ |
098-6624992 |
Email |
athicha.soi@mahidol.edu, int@mahidol.ac.th |
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุดูดซับจากเส้นใยสับปะรดไมโคร"
|
|