ที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมที่จำเพาะต่อโปรตีนโฟเลตรีเซปเตอร์อัลฟ่า
นักวิจัย  
ดร.พิริยา เหลืองวัฒนนันท์ และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2101000304 ยื่นคำขอวันที่ 24 พฤษภาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด หรือการใช้ยาแบบมุ่งเป้า ซึ่งสามารถรักษาได้ผลดีในการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในระยะต้นของโรค แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการในระยะท้ายของโรค การรักษาข้างต้นมีโอกาสในการรักษาสำเร็จค่อนข้างต่ำ อีกทั้งบางวิธียังมีผลข้างเคียงสูง ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ส่วนวิธีรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดจะใช้ได้ผลดีในเฉพาะผู้ป่วยรายที่เซลล์มะเร็งมีการแสดงออกของตัวรับฮอร์โมนเท่านั้น การรักษามะเร็งเต้านมจึงยังคงมีข้อจำกัดของการรักษาให้หายขาด จากปัญหาดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์จึงได้ค้นคว้า วิจัย ทดลองวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำวิธีการรักษาเซลล์มะเร็งด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง คือวิธีการรักษาด้วย เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด มาทดลองกับการรักษามะเร็งเต้านม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วิธีการรักษาด้วย เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด คือการรักษาโดยนำเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยมาดัดแปลงให้สามารถจดจำเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะแล้วทำการฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับการดัดแปลงนี้สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเพราะเป็นเซลล์ของตัวผู้ป่วยเอง โดยผลงานวิจัยที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในชื่อ ทีเซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมที่จำเพาะต่อโปรตีนโฟเลตรีเซปเตอร์อัลฟ่า นี้ เป็นการศึกษาวิจัยการดัดแปลงภูมิคุ้มกันที-เซลล์ของผู้ป่วยให้มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมที่ที่จำเพาะต่อโปรตีนโฟเลตรีเซปเตอร์อัลฟ่าบนผิวเซลล์มะเร็ง จึงสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวอธิฌา สร้อยนาค
โทรศัพท์ 028496056
โทรศัพท์มือถือ 098-6624992
Email athicha.soi@mahidol.edu, int@mahidol.ac.th
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมที่จำเพาะต่อโปรตีนโฟเลตรีเซปเตอร์อัลฟ่า"