![]() |
||||||||
นักวิจัย
รศ.ดร.ภก. สัณหภาส สุดวิลัย และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001006264 ยื่นคำขอวันที่ 30 ตุลาคม 2563
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในการรักษาโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งด้วยยาต้านมะเร็งซิสพลาติน หรือการรักษาโรคติดเชื้อด้วยยาปฎิชีวนะอย่างโคลิสตินและยาในกลุ่มพอลิไมซินอื่นๆ นั้น ผลการรักษามักขึ้นอยู่กับปริมาณของยาที่ให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา การได้รับยาในปริมาณมากมักส่งผลเสียต่อเซลล์ของร่างกายผู้ป่วย ทั้งความเสียหายของท่อไต ความเสียหายของดีเอ็นเอ ความเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน การอักเสบ และการตายของเซลล์
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาวิธีการป้องกันความเป็นพิษของไตจากการใช้ยาดังกล่าว โดยในงานวิจัยก่อนหน้านี้มีการกล่าวถึงการใช้สารประเภทไนเตรตเตดลิปิดเพื่อบรรเทาความเสียหายจากผลข้างเคียงของเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี หรือการใช้สารซิลาสตาตินเพื่อลดความเป็นพิษของไตโดยไม่ลดประสิทธิภาพของการรักษา หรือการใช้คาบิมาโซลในการเตรียมยาเพื่อลดความเป็นพิษของไตที่เกิดจากยาปฎิชีวนะ ซึ่งสารเหล่านี้สามารถลดอาการอักเสบได้และมีฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการยับยังอาการอักเสบอย่างแพนดูราติน เอ |
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ในการรักษาโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งด้วยยาต้านมะเร็งซิสพลาติน หรือการรักษาโรคติดเชื้อด้วยยาปฎิชีวนะอย่างโคลิสตินและยาในกลุ่มพอลิไมซินอื่นๆ นั้น การได้รับยาในปริมาณมากมักส่งผลเสียต่อเซลล์ของร่างกายผู้ป่วย ทั้งความเสียหายของท่อไต ความเสียหายของดีเอ็นเอ ความเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน การอักเสบ และการตายของเซลล์ การใช้ แพนดูราติน เอ ซึ่งเป็นสารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้มาจากการสกัดกระชาย หรือการสังเคราะห์ด้วยปฏิกริยาทางเคมี จากการทดลองพบว่าการใช้องค์ประกอบทางเภสัชกรรมตามการประดิษฐ์นี้ให้กับผู้ป่วยร่วมกับการรักษาด้วยยา เคมีบำบัด การฉายรังสี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถป้องกันหรือลดความเป็นพิษต่อไตได้ดี
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล | |
|||||||
|