ผลิตภัณฑ์ผ้าใยกล้วยบัวหลวง
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร
ผศ.ดร.สุรชัย ขันแก้ว
นางสาวศรัณญา ขันธ์สัมฤทธิ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จังหวัดปทุมธานี มีแหล่งท่องเที่ยว 1 ใน 10 ที่สำคัญ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านแสงตะวัน ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีการพัฒนากระบวนการผลิตผ้าจากเส้นใยกล้วยจนเกิดเป็นผ้าใยกล้วยบัวหลวง (BUALUANG-Banana Fabric) จนกลายเป็นผ้าประจำจังหวัดปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยมีจุดเริ่มต้นจากทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้วิจัยการพัฒนาเส้นใยกล้วย ในงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ เนื่องจากต้นกล้วยหอมทองและต้นกล้วยน้ำว้าเหลือทิ้ง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จำนวน 30,000 ตันต่อปี โดยการ “นำกาบและก้านในกล้วย” มาปั่นเป็นเส้นด้าย ซึ่งเส้นใยกล้วย มีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรง และเงามัน สามารถขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย นำมาต่อยอดทอเป็นผืนผ้าและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ และมีการพัฒนาลวดลายของผ้าใยกล้วยอย่างต่อเนื่อง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผ้าใยกล้วยบัวหลวงมีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรงและเงามัน มีผิวสัมผัสและน้ำหนักเบา คล้ายผ้าขนสัตว์ ทำให้สวมใส่สบาย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณมยุรี จอยเอากา, คุณฉัตรวดี สายใยทอง และคุณพัชรี ซิลวา
โทรศัพท์ 025494493
โทรศัพท์มือถือ 0831516740
Email mayuree_j@rmutt.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์ผ้าใยกล้วยบัวหลวง"