ผลิตภัณฑ์ชาข้าวกล้องอินทรีย์งอกที่มีส่วนผสมของสารสกัดเพปไทด์จากถั่วครก |
นักวิจัย |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รักฤดี สารธิมา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรัณยู คำเมือง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผู้วิจัยได้ศึกษาพบฤทธิ์ชีวภาพที่ดีของข้าวไทยที่ปลูกแบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และโปรตีนจากเมล็ดถั่วครก ซึ่งถั่วครกมีโปรตีนที่สูงและมีศักยภาพในการนำมาเตรียมเพปไทด์สกัดที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งอัลฟ่า-อะไมเลส (ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซิน-1 (ควบคุมความดันโลหิต) การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้จริงเชิงพาณิชย์มีศักยภาพสูง เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และประชาชนชาวไทยเกิดภาวะเครียดและต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมของการดำเนินชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย เช่น แก่ก่อนวัย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์ชาข้าวกล้องงอกที่พัฒนาขึ้นนี้จะตอบโจทย์ของตลาดในปัจจุบันเป็นอย่างดี และยังจะมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เป็นผลิตภัณฑ์ชาที่มีสารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ กาบ้า และเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งอัลฟ่า-อะไมเลสซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ควบคุมการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล และฤทธิ์ยับยั้งเอซีอี-1 ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในระบบควบคุมความดันโลหิต มีกลิ่นหอมข้าวคั่วชาเขียวใบเตย ไม่เติมน้ำตาล เหมาะสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพใช้เป็นเครื่องดื่มพลังงานต่ำที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีราคาเดียว |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาววันวิสาข์ บุญกล้า, นางสาวอทิตยา โพนทอง |
โทรศัพท์มือถือ |
096-3266697, 088-5624463 |
Email |
Ying.ipmsu@gmail.com, atitaya.p@msu.ac.th |
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์ชาข้าวกล้องอินทรีย์งอกที่มีส่วนผสมของสารสกัดเพปไทด์จากถั่วครก"
|
|