แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นด้านหลังเป็นอลูมิเนียมคอมโพสิต
นักวิจัย  
นายสุทธินันท์ เจริญเสถียรโชค
ว่าที่ร้อยตรีนพดล สิทธิพล
นายณัฐกานต์ อุดมเดชาณัติ
นายรังสรรค์ ปลื้มกมล
ดร.อัศวิน หงษ์สิงห์ทอง
ดร.อมรรัตน์ ลิ้มมณี
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002539 ยื่นคำขอวันที่ 9 กันยายน 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
แผงโซลาร์เซลล์แบบทั่วไป Glass-Tedlar และ Glass-Glass ในการติดตั้งต้องใช้โครงสร้างรองรับและมีชุดยึดจับแผง ตัวแผงไม่สามารถยึดติดโดยตรงกับส่วนประกอบของอาคาร เช่น หลังคา ผนัง หรือ เสาได้ ทำให้แผงโครงสร้างทั่วไปมีข้อจำกัดในการติดตั้งและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนโครงสร้างรองรับแผง คณะวิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์โครงสร้าง PET-ACM ที่มีจุดเด่นที่สามารถเจาะยึดกับแผ่นเมทัลชีทหรือเจาะยึดติดกับผนังของอาคารได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้โครงสร้างเสริมเหมือนกับแผงโซลาร์เซลล์แบบทั่วไป การติดตั้งแผงทำได้ง่าย รวดเร็ว นอกจากนี้เมื่อแผงเซลล์เกิดการชำรุดหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• จุดเด่นเทคโนโลยี
o แผงโซลาร์เซลล์โครงสร้าง PET-ACM ที่สามารถเจาะยึดกับอาคารได้โดยตรง ลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างรองรับ ต้นแบบแผงที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ BAPV หรือ BIPV ได้ในอนาคต
o แผงโซลาร์เซลล์โครงสร้าง PET-ACM น้ำหนักเบากว่าแผงทั่วไปถึง 40% และสามารถเปลี่ยนสีพื้นหลังของแผงได้
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
o สามารถนำตัวแผงมาใช้ประโยชน์ต่อในรูปแบบอื่น อาทิเช่น หลังคากันแดด ผนังกั้นห้องได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1619
Email tlo-ipb@nstda.or.th
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นด้านหลังเป็นอลูมิเนียมคอมโพสิต"