กรรมวิธีการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยลายพิมพ์เปปไทด์ |
นักวิจัย |
|
ดร.สิทธิรักษ์ รอยตระกูล และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
ความลับทางการค้า |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผลงานวิจัยกรรมวิธีตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 โดยใช้เทคนิค Peptide barcode และใช้การอ่านผลด้วยเครื่อง Maldi-TOF Mass spectrometry โดยผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถตรวจได้ในสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยที่เป็น serum, nasal swab และ saliva ซึ่งผลงานวิจัยกรรมวิธีการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยลายพิมพ์เปปไทด์นี้ ผ่านการทดสอบทางคลินิกและประเมินผลเทียบกับการตรวจโดยวิธี RT-PCR เรียบร้อยแล้ว ซึ่งพบว่า มีประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับการตรวจด้วยวิธี RT-PCR โดยจุดเด่นของผลงานวิจัยนี้ คือ ใช้เวลาการตรวจที่สั้น หากรวมตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างจนถึงการวิเคราะห์ผลใช้เวลาเพียง 45 นาที และมีต้นทุนการตรวจที่ถูกเมื่อเทียบกับวิธีการตรวจหาเชื้อ SARS CoV-2 ด้วยเทคนิคอื่น ๆ ที่มีในปัจจุบัน |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• ตรวจได้รวดเร็ว ใช้เวลาทั้งกระบวนการเพียง 45 นาที
• ตรวจได้พร้อมกันทีละหลายตัวอย่าง
• ต้นทุนการตรวจต่อตัวอย่างมีราคาถูก
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จิรนันท์ บุบผามาลา |
โทรศัพท์ |
025647000 ต่อ 1616 |
Email |
tlo-ipb@nstda.or.th |
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยลายพิมพ์เปปไทด์"
|
|