อุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาระบบIoTแบบพกพา
นักวิจัย  
นายปิยวัฒน์ จอมสถาน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201000628 ยื่นคำขอวันที่ 31 มกราคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมีขนาดใหญ่ทั้งในแง่สถาปัตยกรรมและพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้ง ดังนั้นหากสถานศึกษาจะจำลองหรือสร้างระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติ การนำอุปกรณ์จริงทั้งหมดมาประกอบกันต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและสิ้นเปลืองพื้นที่ สถานศึกษาแต่ละแห่งอาจสามารถสร้างหรือจำลองระบบได้ไม่เกิน 1-2 ระบบ ผู้เรียนจะต้องผลัดกันเรียนผลัดกันใช้ เกิดคอขวดและอุปสรรคต่อการสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้ ดังนั้นโดยมากสถานศึกษาหรือหลักสูตรอบรมต่างๆ จึงมักย่อการเรียนการสอนอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งให้เหลือเพียงชั้นที่ 1 สมองกลฝังตัว และชั้นที่ 2 การเชื่อมต่อเท่านั้น โดยอาจมีชั้นที่ 4 แพลตฟอร์ม เพราะวิธีนี้สามารถใช้เพียงบอร์ดสมองกลฝังตัวและเซนเซอร์ซึ่งมีขนาดเล็กและราคาไม่แพงสำหรับเป็นเครื่องมือเรียนรู้ ทำให้กระจายให้แก่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น แต่ก็เหมาะสมกับการถ่ายทอดแนวคิดการเป็นผู้ใช้งานระบบมากกว่าการเป็นผู้พัฒนาระบบขึ้นมาให้ใช้งานได้เอง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• จุดเด่นเทคโนโลยี
o เป็นอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนการสอนที่ใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังมีเอกสารการสอน หรือคู่มือที่สำหรับนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้สอนทางด้าน Internet of Things ได้ทันที
o สามารถนำไปต่อยอดเป็นโครงการ หรือโครงงานทางด้าน Internet of Things ได้
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
o งานด้าน Smart ต่างๆที่สามารถนำ Internet of Things ไปประยุกต์ใช้ เช่น Smart Farm, Smart Factory, Smart Home, Smart Health เป็นต้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สุรีรัตน์ รัตนสมบูรณ์
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1619
Email tlo-ipb@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาระบบIoTแบบพกพา"