แผงโซลาร์เซลล์ Agri-PV |
นักวิจัย |
|
นายทวีวัฒน์ กระจ่างสังข์ และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201006263 ยื่นคำขอวันที่ 27 กันยายน 2565 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
งานวิจัย “แผงโซลาร์เซลล์ Agri-PV” นี้ได้พัฒนาให้แผงโซลาร์เซลล์มีสมบัติกึ่งส่องผ่านแสง สามารถกรองรังสีอัลตราไวโอเลต สะท้อนรังสีอินฟราเรดแบบใกล้และส่องผ่านช่วงความยาวคลื่นแสง 400-700 nm หรือ Photosynthetically Active Radiation (PAR) เป็นช่วงแสงที่มีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์แสงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช เพื่อประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรเพาะปลูกและผลิตไฟฟ้าได้บนพื้นที่เดียวกัน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ในพื้นที่เกษตร นอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณภาพผลผลิตและการใช้พื้นที่ใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังสามารถลดต้นทุนในกิจการด้วยการใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทั้งด้านพลังงานและผลผลิตที่ยั่งยืนได้
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• จุดเด่นเทคโนโลยี
o แผงโซลาร์เซลล์ให้แสงส่องผ่านได้มากในช่วงความยาวคลื่น 400-700 nm หรือ Photosynthetically Active Radiation (PAR) เป็นช่วงแสงที่มีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์แสงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
o แผงโซลาร์เซลล์มีสมบัติกรองรังสีอัลตราไวโอเลต สะท้อนรังสีอินฟราเรดแบบใกล้
o ออกแบบ ปรับเปลี่ยนการจัดเรียงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามความต้องการและการใช้งาน
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
o ประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรและผลิตไฟฟ้าได้บนพื้นที่เดียวกัน
o ประยุกต์ใช้หลังคาโรงเรือนการเกษตร หลังคาโรงจอดรถ หลังคาสกายไลท์ กันสาด
• กลุ่มเป้าหมาย
o ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์
o ผู้ผลิตโรงเรือนเกษตร
o กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
สุรีรัตน์ รัตนสมบูรณ์ |
โทรศัพท์ |
0 2564 7000 ต่อ 1619 |
Email |
tlo-ipb@nstda.or.th |
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผงโซลาร์เซลล์ Agri-PV"
|
|