เครื่องผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลจากยางพาราแบบต่อเนื่อง |
นักวิจัย |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร เกษแก้ว และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2203002267 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ยางพารา เป็นพืชที่สามารถแปรสภาพเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติและยางสังเคราะห์ไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนคุณภาพสูง โดยใช้วิธีไพโรไลซิสแบบต่างๆ โดยพบว่ายางพาราสามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลวได้มากถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ยางพารายังให้ความร้อนสูงถึง 4.3-4.5 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นข้อดีเมื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชีวภาพอื่นๆ
ที่ผ่านมามีผู้ประดิษฐ์เครื่องผลิตเชื้อเพลิงจากยางพาราโดยใช้ปฏิกิริยาไพโรไลสิสและควบแน่นไอระเหยของยางพาราจากหม้อปฏิกรณ์ แต่เป็นการทำงานแบบรอบต่อรอบ ไม่สามารถทำงานแบบต่อเนื่องได้
ด้วยข้อเสียของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวซึ่งไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้ อีกทั้งเครื่องมีขนาดเล็กที่เหมาะกับการใช้งานภายในครัวเรือน หากต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตจะต้องใช้ทุนในการขยายอย่างมาก และเมื่อนำพลาสติกที่มาใช้เป็นวัตถุดิบจะต้องทำการปรับแต่งระบบเครื่องผลิตน้ำมันด้วย ด้วยเหตุนี้ คณะผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาเครื่องผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลจากยางพาราแบบต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตโดยใช้เครื่องเดิมได้ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
- สามารถผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลได้อย่างต่อเนื่องในขั้นตอนเดียวกัน
- ออกแบบให้มีชุดหม้อหลอมยางพาราเพื่อให้สามารถป้อนวัตถุดิบได้ต่อเนื่อง |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จินดาพร พลสูงเนิน |
โทรศัพท์มือถือ |
086-451-4455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลจากยางพาราแบบต่อเนื่อง"
|
|