องค์ประกอบของยาสีฟันที่มีส่วนผสมของน้ำมันยางนา |
นักวิจัย |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร เกษแก้ว และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2003003216 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของน้ำมันยางนา ช่วยลดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบและช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในช่องปาก |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• มีผลการวิจัยในห้องทดลอง
• มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ และเชื้อแอกกรีเกรทิแบคเทอร์ แอคทิโนมัยซีโคมิแทนส์ ได้มากกว่าคลอร์เฮกซิดีน และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส มิวแทนส์ ได้ใกล้เคียงกับคลอร์เฮกซิดีน
• มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากที่ได้กลุ่มตัวอย่างได้
• ใช้สารสกัดจากพืชที่เป็นพันธุ์ไม้ไทย ช่วยเพิ่มมูลค่าให้พันธุ์ไม้ไทย ใช้ในปริมาณน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง
• ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวสูง การศึกษาในห้องปฏิบัติการด้วยสภาวะเร่ง พบว่า ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเคมี กายภาพของผลิตภัณฑ์ น่าจะมีอายุการใช้งานและอายุการเก็บรักษาได้นาน
• น้ำมันยางนาสารธรรมชาติที่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์ด้วยการกลั่นแบบจำเพาะมีชื่อทางเคมีว่า Gurjunene ที่มีชื่อทางการค้าว่า Gurjun Balsam มีข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนจำนวนมาก
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
พรรณรวี กบิลพัฒน์ |
โทรศัพท์มือถือ |
0864514455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "องค์ประกอบของยาสีฟันที่มีส่วนผสมของน้ำมันยางนา"
|
|