A-MED Telehealth ระบบบริการการแพทย์ทางไกล
นักวิจัย  
นายกิตติ วงศ์ภาวราวัฒน์
นายวัชรากร หนูทอง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
A-MED Telehealth เป็นแพลตฟอร์ม เพื่อใช้บริหารจัดการดูแลผู้ป่วยในสถานกักตัวผู้ป่วยโรคโควิด-19 เช่น โรงพยาบาลสนาม, Hospitel, Home/Community Isolation อย่างเป็นระบบ รองรับการทำงานของแพทย์และพยาบาลดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ มีจุดเด่นในการสื่อสารผ่านระบบวิดีโอคอล และการบันทึกข้อมูลสัญญาณชีพทางไกล เช่น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ความดันโลหิต อาการที่สำคัญ เป็นต้น และยังสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยกับหน่วยงานภายนอกเช่น บริการยันยืนและพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ระบบเบิกจ่าย (e-Claim) ระบบตรวจสอบก่อนเบิกจ่าย (Pre-audit) ของกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปัจจุบันนำไปต่อยอดสำหรับให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) และดูแลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ (Common illness) ที่ร้านยาเข้าร่วมโครงการฯ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. แพลตฟอร์มออกแบบให้ใช้งานบนคลาวน์ภาครัฐ ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง
2. มีระบบ API เชื่อมโยงระบบการขอบริการยันยืนและพิสูจน์ตัวตน (Authen code) ของ สปสช.
3. มีระบบ API เชื่อมโยงระบบเบิกจ่ายบริการสุขภาพ (e-Claim) (เฉพาะบริการ Tele-pharmacy ที่ร้านยา)
4. มีระบบ Video conference ให้ทีมแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ใช้เยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วยทางไกล
5. ได้รับการยอมรับเป็นเครื่องมือให้บริการกับหน่วยบริการที่ต้องการเบิกจ่าย สำหรับบริการ Tele-pharmacy หรือ Tele-home ward ของ สปสช.
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ตัวแทนอนุญาตใช้สิทธิ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email ipbiz@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "A-MED Telehealth ระบบบริการการแพทย์ทางไกล"