ชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบรวดเร็ว (Immunochromatographic strip test)
นักวิจัย  
ดร.อรประไพ คชนันทน์ และคณะวิจัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303000845 ยื่นคำขอวันที่ 24 มีนาคม 2566
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
โรคใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Sri Lankan cassava mosaic virus หรือ SLCMV ที่มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ อาการของต้นที่ติดโรค คือ ใบด่างและใบหงิกลดรูป ลำต้นแคระแกร็น และมีการลดลงของผลผลิตทั้งจำนวน ขนาด และคุณภาพของหัวมัน ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรงอาจสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตมากถึง 80-100% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลังเป็นวงกว้างตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบรวดเร็ว (Immunochromatographic Strip Test) มีความจำเพาะเจาะจง มีความไว และความถูกต้องแม่นยำที่สูง ใช้งานง่าย สามารถพกพาไปตรวจในแปลงปลูกได้ รู้ผลรวดเร็วภายใน 15 นาที ยังไม่เคยมีรายงานการพัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วสำหรับเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลังชนิด SLCMV มาก่อน และยังไม่มีการขายในเชิงพาณิชย์ ชุดตรวจดังกล่าวมีความสำคัญต่อการศึกษาด้านระบาดวิทยา การจัดการควบคุมโรค การปรับปรุงพันธุ์ต้านทาน และการตรวจหาเชื้อในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิตท่อนพันธุ์ปลอดเชื้อ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อ SLCMV ในมันสำปะหลังได้อย่างจำเพาะเจาะจง สามารถพกพาไปตรวจในแปลงปลูกได้
• ใช้งานได้ง่าย สามารถตรวจเองได้ ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการและเครื่องมือวัดอ่านผล
• รู้ผลไว ภายใน 15 นาที
• มีความแม่นยำร้อยละ 96 ความจำเพาะเจาะจงร้อยละ 100 และความไวร้อยละ 91 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการ PCR
• มีความแม่นยำร้อยละ 99 ความจำเพาะเจาะจงร้อยละ 100 และความไวร้อยละ 99 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการ DAS-ELISA
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1357
Email tlo-ipb@nstda.or.th
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบรวดเร็ว (Immunochromatographic strip test)"