นวัตกรรมการฉายรังสีก้านผักตบชวากันกระแทกปลอดเชื้อราและจุลินทรีย์ |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.(พิเศษ) ธนกร แสงทวีสิน
ดร.ธีรพัชร์ ชุติมาสกุล
นางสาวภัทรา เลิศศราวุธ
ดร.ศักดิ์ชัย หลักสี่
ดร.ฐิติรัตน์ รัตนวงษ์วิบูลย์ ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคดนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303002200 ยื่นคำขอวันที่ 3 ตุลาคม 2566 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ความต้องการบรรจุภัณฑ์และวัสดุกันกระแทกจำนวนมากในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2020 ถึง 2025 คาดว่าตลาดพลาสติกกันกระแทกทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 7.8 % ต่อปี และจะมีมูลค่าตลาดราว 3.7 แสนล้านบาท โดยวัสดุกันกระแทกส่วนมากผลิตมาจากพลาสติก โฟม และ กระดาษ วัสดุดังกล่าวไม่สามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกินขยะจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีความสนใจใช้ก้านผักตบชวาเพื่อผลิตเป็นวัสดุกันกระแทก แต่อย่างไรก็ตามผักตบชวามีรูพรุน และมีความชอบน้ำสูง จึงเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา จุลินทรีย์ และไข่แมลง จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีและความร้อนในการกำจัดหรือลดปริมาณเชื้อรา จุลินทรีย์ และไข่แมลง โดยสารเคมีที่นิยมใช้คือ โซเดียมเบนโซเอต เทรเท็กซ์243 เมตาติน58-10/101 และ เมตาติน55-03 นอกจากนี้ยังใช้การอบด้วยกำมะถัน ด้วยจุดนี้เองการใช้รังสีแกมมาซึ่งเป็นรังสีไอออไนซ์ มีความสามารถในการฆ่าเชื้อราและจุลินทรีย์ได้ทั้งภายในและภายนอกก้านผักตบชวากันกระแทก การฉายรังสียังสามารถลดการใช้สารเคมีและลดการปลดปล่อยสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ใช้สินค้าอีกด้วย
กรรมวิธีการผลิตก้านผักตบชวากันกระแทกปลอดภัยจากเชื้อราและจุลินทรีย์โดยกา |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
กรรมวิธีการผลิตก้านผักตบชวากันกระแทกปลอดภัยจากเชื้อราและจุลินทรีย์โดยการฉายรังสีแกมมาสามารถผลิตได้จากการนำก้านผักตบชวาแห้งโดยการฉายรังสีแกมมาที่ 0 – 45 กิโลเกรย์ ในสภาวะอากาศปกติ ไม่ใช้สารเคมี และความร้อน โดยมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ และจำนวนยีสต์และรา ลดลงหลังก้านผักตบชวากันกระแทกผ่านการฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสีสะสมเพิ่มขึ้น พบการฉายรังสีแกมมาที่ 25 และ 45 กิโลเกรย์ สามารถลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ และจำนวนยีสต์และรา อยู่ในระดับมาตรฐานของวัสดุที่สามารถสัมผัสอาหาร |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ธนกร แสงทวีสิน |
โทรศัพท์มือถือ |
0624212919 |
Email |
tanagorn@tint.or.th |
ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคดนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมการฉายรังสีก้านผักตบชวากันกระแทกปลอดเชื้อราและจุลินทรีย์"
|
|