นวัตกรรมการผลิตคาร์บอนดอทโดยกระบวนการทางรังสี |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.(พิเศษ) ธนกร แสงทวีสิน
ดร.ธีรพัชร์ ชุติมาสกุล
ผศ.ดร.กนกอร เวชกรณ์ ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 22603 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
คาร์บอนนาโนดอท จัดเป็นวัสดุระดับนาโนที่มีขนาดอนุภาคระดับนาโน สามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกกระตุ้น (fluorescence materials) โดยแสงที่เปล่งออกมาเปลี่ยนแปลงตามความยาวคลื่นที่ใช้กระตุ้น จึงสามารถประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท เนื่องจากมีข้อดีต่าง ๆ ได้แก่ ความเป็นพิษต่ำทั้งต่อเซลล์และสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงคุณสมบัติได้โดยปรับปรุงหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวได้ไม่ยาก จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านชีวการแพทย์ในฐานะตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและเคมี ตัวเร่งปฏิกิริยาซับซ้อนในระบบบำบัดด้วยแสง และส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนอนุภาคระดับนาโนของโลหะหรือสารกึ่งตัวนำซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม คาร์บอนนาโนดอทสามารถผลิตได้จากวัสดุคาร์บอนตามธรรมชาติรวมถึงชีวมวล ซึ่งโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ วิธีแรกจากสารโมเลกุลใหญ่ (top-down) และวิธีที่สองจากสารโมเลกุลเล็ก (bottom-up) ในปัจจุบันมีวิธีการเตรียมจากคาร์บอนโมเลกุลใหญ่ ได้แก่ กระบวนการย่อยด้วยกรด ปฏิกิริยาออกซิเดชันทางเคมีไฟฟ้า การรวมตัวระหว่างโลหะ – กราไฟท์ การสังเคราะห์ด้วยความร้อนและไฟฟ้า การใช้อิเล็กตรอนพลังงานสูงเพื่อพิมพ์หรื |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
กรรมวิธีการผลิตคาร์บอนนาโนดอทจากน้ำตาลทรายโดยรังสีแกมมาสามารถผลิตได้จากสารละลายน้ำตาลที่ความเข้มข้นร้อยละ 4-20 โดยน้ำหนัก โดยใช้รังสีแกมมาที่ 25 – 45 กิโลเกรย์ ซึ่งมีคุณสมบัติการเรืองแสงในช่วง 400-470 นาโนเมตร เมื่อกระตุ้นด้วยแสงที่มีความยาวคลื่น 300 – 400 นาโนเมตร ซึ่งเทียบเท่าการผลิตคาร์บอนนาโนดอทโดยวิธีทางเคมี ไฟฟ้า ไฮโดรเทอร์มอล และโซลโวเทอร์มอล ด้วยวิธีทางรังสีมีข้อได้เปรียบวิธีการอื่นๆ คือ สามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้อง ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายหลัก และสามารถทำได้ในสแกลใหญ่ อีกทั้งคาร์บอนนาโนดอทจากน้ำตาลยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งคาร์บอนนาโนดอทนั้นสามารถนำไปใช้ในงานหลายประเภทเช่น ตัวตรวจวัดโลหะหนัก งานอิเล็กทรอนิกส์ และงานถ่ายภาพระดับชีวโมเลกุล |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ธนกร แสงทวีสิน |
โทรศัพท์มือถือ |
0624212919 |
Email |
tanagorn@tint.or.th |
ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมการผลิตคาร์บอนดอทโดยกระบวนการทางรังสี"
|
|