กรรมวิธีการเคลือบกระถางชีวมวลด้วยสารเคลือบควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ย
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี และคณะ
สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2201001337 ยื่นคำขอวันที่ 3 มีนาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันนี้ การปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นพืชดอก พืชใบ หรือพืชผล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งการปลูกลงดิน หรือการปลูกในกระถาง ซึ่งการปลูกพืชในกระถางเหมาะสำหรับผู้อยู่อาศัยตามคอนโด หรือมีบริเวณพื้นที่บ้านน้อย โดยการปลูกพืชให้เจริญเติบโตนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การบำรุงให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชด้วยปุ๋ย โดยปุ๋ยมีด้วยกันหลายชนิด เช่น ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น ซึ่งการให้ปุ๋ยโดยตรงแก่พืชจะมีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการสูญเสียยูเรียจากการละลายน้ำ และการระเหิดอย่างรวดเร็วของยูเรียก่อนที่พืชดูดซึมไปใช้งาน ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาสารเคลือบควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยโดยใช้สารพอลิเมอร์กลุ่มไฮโดรเจลที่สามารถเตรียมได้จากวัสดุชีวภาพ และมีคุณสมบัติเด่นในการดูดซับน้ำไว้ภายในโครงสร้าง นอกจากนี้ยังพัฒนากรรมวิธีการเคลือบกระถาง เช่น กระถางชีวมวล กระถางดินเผา เป็นต้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- สารเคลือบที่ผลิตได้นี้สามารถควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยอย่างช้า ๆ ด้วยกการใช้สารเคลือบพอลิเมอร์กลุ่มไฮโดรเจลที่สามารถเตรียมได้จากวัสดุชีวภาพ
- ระยะเวลาในการปลดปล่อยปุ๋ยประมาณ 30-60 วัน ช่วยลดปัญหาของการเติมปุ๋ยโดยตรงที่มีการสูญเสียธาตุอาหารสำคัญจากการละลายน้ำหรือการระเหิดไปอย่างรวดเร็วก่อนที่พืชจะดูดซึมไปใช้งาน
- สารพอลิเมอร์กลุ่มไฮโดรเจลมีคุณสมบัติเด่นในการดูดซับน้ำไว้ภายในโครงสร้าง ซึ่งทำให้รากพืชสามารถดูดซึมน้ำมาใช้งานได้ แม้ไม่รดน้ำหรือไม่มีฝนตกเป็นเวลานาน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ธันยาณัฏฐ์ สายเบาะ
โทรศัพท์ 045353000 ต่อ 3193
โทรศัพท์มือถือ 0804846106
Email thanyanat.s@ubu.ac.th
หน่วยจัดการสิทธิเทคโนโลยี โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการเคลือบกระถางชีวมวลด้วยสารเคลือบควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ย"