กรรมวิธีการผลิตแผ่นยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ปราณี นุ้ยหนู
ผศ.ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี
รศ.ดร.สายันต์ แสงสุวรรณ
รศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ
สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สาขาเคมี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2403000031 ยื่นคำขอวันที่ 5 มกราคม 2567
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการขยายพื้นที่การปลูกกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในการจำหน่ายกล้วยหอมทองทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรชาวสวนประสบคือ ปัญหาในด้านคุณภาพของกล้วยไม่ได้มาตรฐานเนื่องจากกล้วยหอมทองมีลักษณะเปลือกบาง สุกเร็ว เนื้อนิ่ม ขั้วไม่เหนียวและหลุดง่าย ผิวเปลือกดำเร็วและช้ำได้ง่าย ทำให้มีอายุการเก็บรักษาและการวางจำหน่ายในตลาดสั้น หากต้องการชะลอการสุกของกล้วยระหว่างการขนส่ง จำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ คือการใช้สารดูดซับเอทิลีน ซึ่งสารดูดซับเอทิลีนที่มีจำหน่ายในทางการค้าส่วนใหญ่ผลิตจากโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต มีคุณสมบัติในการดูดซับเอทิลีนได้ดี แต่สารเคมีดังกล่าวจัดเป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง มีความเป็นพิษ หากนำไปใช้งานโดยตรงเมื่อออกซิไดซ์จะไปเคลือบที่ผิวของกล้วยทำให้ไม่มีความปลอดภัยในการบริโภค ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนากรรมวิธีการผลิตฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนสำหรับชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง และเพื่อลดอันตรายจากสารโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ทั่วประเทศไทย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- แผ่นยางพาราดูดซับเอทิลีนสามารถยืดอายุการสุกของกล้วยได้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- สามารถเก็บรักษากล้วยได้ที่อุณหภูมิ 28-33 องศาเซลเซียส
- แผ่นยางดูดซับเอทิลีนกันความชื้นได้ ไม่มีการฉีกขาดระหว่างการใช้งาน
- ชะลอการสุกของกล้วยได้นานกว่าวัสดุดูดซับเอทิลีนที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
- ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยในด้านการใช้งานและการบริโภคผลไม้
- ยกระดับการเก็บเกี่ยวกล้วยหอมทองที่ระดับความแก่เพิ่มขึ้นได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ธันยาณัฏฐ์ สายเบาะ
โทรศัพท์ 045353000 ต่อ 3193
โทรศัพท์มือถือ 0804846106
Email thanyanat.s@ubu.ac.th
หน่วยจัดการสิทธิเทคโนโลยี โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผลิตแผ่นยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง"