แท่งวัสดุปลูกพืช
นักวิจัย  
ดร.รุ่งฤดี ศรีสำอาง
ดร.จิญาภา ศรีภิรมย์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001475 ยื่นคำขอวันที่ 14 มิถุนายน 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เทคโนโลยีด้านการเพาะปลูกเจริญก้าวหน้าทำให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูกหรือแม้แต่พึ่งพาฤดูกาลอีกต่อไป โดยเทคโนโลยีการเพาะปลูกพืชในวัสดุปลูกเป็นการปลูกพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการปลูกพืชในดินมากที่สุด นิยมใช้ปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) หรือนำมาใช้เป็นวัสดุปิดหน้ากระถางไม้ดอก ไม้ประดับ แต่มีข้อเสีย คือ ต้นทุนในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) นั้นมีค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างโรงเรือน และการจัดซื้อวัสดุปลูกที่เหมาะสมมีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งวัสดุปลูกบางชนิด เช่น เพอร์ไลท์ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และวัสดุปลูกที่ดีควรมีอัตราส่วนของน้ำและอากาศ ประมาณ 50:50 ไม่มีการอัดตัวหรือยุบตัวเมื่อเปียกน้ำ หรือเมื่อใช้ไปนานๆ รากพืชสามารถแพร่กระจายได้สะดวกทั่วทุกส่วนของวัสดุปลูก เป็นวัสดุที่ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืชเจือปนอยู่ ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายธาตุอาหารและภาชนะที่ใช้บรรจุ มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุต่างๆ สูงและเป็นวัสดุที่ไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แท่งวัสดุปลูกพืชมีส่วนประกอบ คือ หินปูน ดินเผา กากตะกอนหม้อกรอง และดินเหนียว มีกรรมวิธีการผลิต เริ่มจากผสมวัตถุดิบทั้งหมด แล้วขึ้นรูปให้เป็นแท่งด้วยเครื่องอัดเม็ดปุ๋ย ผึ่งลมให้แห้ง และนำไปเผาด้วยเตาเผาเซรามิก เมื่อเย็นตัวลงจะได้วัสดุปลูกที่มีลักษณะเป็นแท่งสีส้ม น้ำหนักเบา ไม่ยุ่ยตัวหลังจากแช่ในน้ำ มีความสามารถดูดซับน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรด - เบส อยู่ในระดับที่เป็นเบส ซึ่งสมบัติทางเคมีและสมบัติทางกายภาพมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชรวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นายอภิเดช อภิพัฒน์ภาดุล
โทรศัพท์ 042-211040 ต่อ 1702, 5142
โทรศัพท์มือถือ 086-229-5926
Email tloudru@udru.ac.th
หน่วยทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แท่งวัสดุปลูกพืช"