แผ่นขุยมะพร้าวดับกลิ่นและกรรมวิธีการผลิต
นักวิจัย  
รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001875 ยื่นคำขอวันที่ 7 สิงหาคม 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
กลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายซึ่งมักจะเป็นสารประกอบในกลุ่มเอมีน อาทิ ไตรเมทิลเอมีนและไดเมทิลเอมีน ซึ่งระเหยมาจากแหล่งกำเนิด เช่น เหงื่อไคล จุดซ่อนเร้น กลิ่นเท้า กลิ่นคาวปลา กลิ่นเชื้อราในตู้เสื้อผ้า เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้กำหนดค่ามาตรฐานความเข้มข้นของสารไตรเมทิลเอมีนปนเปื้อนในพื้นที่ปฏิบัติงานที่ 25 พีพีเอ็ม ดังนั้น จึงได้มีการคิดค้นวิธีการบำบัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีต่าง ๆ โดยการบำบัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีการดูดซับโดยการใช้แผ่นขุยมะพร้าว เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง จากผลการศึกษาพบว่า ขุยมะพร้าวมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการดูดซับสารไตรเมทิลเอมีนเมื่อเทียบกับวัสดุดูดซับชนิดอื่น ๆ และสามารถลดการปนเปื้อนของกลิ่นในอากาศได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์แผ่นดูดซับกลิ่นจากขุยมะพร้าวที่สามารถใช้งานได้จริง มีฤทธิ์ในการลดกลิ่นไม่พึงประสงค์และบำบัดกลิ่นในอากาศ เช่น ลดกลิ่นเท้า ดับกลิ่นในตู้เสื้อผ้าและเป็นตัวดูดซับในระบบหมุนเวียนอากาศภายในโรงงาน โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการนำมาใช้ประโยชน์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.อมรรัตน์ วัฒนล้ำเลิศ, คุณปัณณิตา ครุธา
โทรศัพท์ +6624709626
Email amornrat.wat@kmutt.ac.th
งานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผ่นขุยมะพร้าวดับกลิ่นและกรรมวิธีการผลิต"