เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพแบบสองขั้นตอน (2-stage Anaerobic Baffled Reactor) |
นักวิจัย |
|
นางสาวพัทจารี ใจอุ่น ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
|
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
องค์ความรู้ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายของเสียอินทรีย์หรือชีวมวลโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ก๊าซส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน ร้อยละ 50-70 ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้ง่าย และให้ค่าความร้อนสูง จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดีทั้งในรูปแบบของความร้อนและเพื่อผลิตไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพเป็นระบบการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพแบบสองขั้นตอนระดับโรงงานสาธิต กำลังการผลิต 10 ตันต่อวันวัตถุดิบ ผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 กิโลวัตต์ ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพโดยการทำงานของถังหมักแบบ 2 –stage Anaerobic baffled reactor ถูกออกแบบให้มี 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย Acidification mixed tank และ Biogas tank เพื่อแยกกระบวนการที่มีสภาวะการเกิดปฏิกิริยาต่างกันออกจากกัน ทั้งนี้จะทำให้ระบบมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น และใช้พื้นที่น้อยกว่าแบบดั้งเดิม และมีการพัฒนาระบบการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อรองรับวัตถุดิบที่หลากหลายทั้งชนิดเปียกและแห้ง ซึ่งจะครอบคลุม น้ำเสีย ชีวมวล พืชพลังงาน และของเหลือทิ้ง นอกจากนี้ยังมีการเตรียมระบบจัดการน้ำเสียที่ออกจากระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยใช้ Aeration tank ร่วมกับระบบเมมเบรน เพื่อลดค่า COD < 120 มิลลิกรัมต่อลิตร |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
พรรณนิภา คณาณุวัฒน์ |
โทรศัพท์ |
025779000 ต่อ 9438 |
Email |
pannipa@tistr.or.th |
กองบริการธุรกิจนวัตกรรม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพแบบสองขั้นตอน (2-stage Anaerobic Baffled Reactor)"
|
|