เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันแบบสามขั้นตอน (3-stage Gasification Technology)
นักวิจัย  
ดร. พนิดา เทพขุน
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชัน เป็นหนึ่งในกระบวนการ termochemical เพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ ไม้สับ พืชพลังงาน เชื้อเพลิง RDF เป็นต้น เป็นพลังงานในรูปก๊าซสังเคราะห์ เช่น CO, H2, CH4 เป็นต้น ภายใต้สภาวะอับอากาศ โดยก๊าซสังเคราะห์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตความร้อน หรือผลิตกระแสไฟฟ้า และมี Biochar เป็นผลพลอยได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันแบบสามขั้นตอน ระดับโรงงานสาธิต กำลังการผลิต 7 ตันต่อวันวัตถุดิบ ผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 กิโลวัตต์ ประกอบด้วย 1) ระบบอบแห้ง 2) ปฏิกรณ์ (Pyrolysis, Oxidation, และ Reduction Zone) 3) ระบบ Gas Cleaning 4) ระบบบำบัดน้ำเสีย 5) ถังเก็บก๊าซเชื้อเพลิง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รองรับวัตถุดิบที่หลากหลาย ได้แก่ ชีวมวล เช่น ไม้สับ ของเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด เหง้ามัน รวมทั้งเชื้อเพลิง RDF และขยะปลอดเชื้อจากสถานพยาบาล
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
พรรณนิภา คณาณุวัฒน์
โทรศัพท์ 025779000 ต่อ 9438
Email pannipa@tistr.or.th
กองบริการธุรกิจนวัตกรรม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันแบบสามขั้นตอน (3-stage Gasification Technology)"