ผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนจากจิ้งหรีด |
นักวิจัย |
|
นางสาวเนาวพันธ์ ดลรุ้ง ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303002312 ยื่นคำขอวันที่ 21 สิงหาคม 2566 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดแมลงที่เพิ่มสูงขึ้นองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์ว่าในอีก30 ปีข้างหน้ามีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคนจึงต้องมีการเพิ่มแหล่งอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกโดยเฉพาะพลังงานทางด้านแหล่งโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้นแมลงจึงกลายเป็นตัวเลือกที่สำคัญเนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตที่บริโภคได้ มีปริมาณโปรตีนสูงและการเพาะเลี้ยงในช่วงเวลาสั้นเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์อื่นๆ ใช้เวลาในการดูแลน้อยกว่าด้านต้นทุนทรัพยากรในการเลี้ยงประหยัดกว่าไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงลงทุนต่ำและมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณที่น้อยกว่าดังนั้นแมลงจึงได้รับความสนใจในการเป็นวัตถุดิบหรืออาหารทางเลือกใหม่ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เนื้อเทียมจากผงจิ้งหรีด
• ปริมาณโปรตีน 1 กรัม และไขมัน 2 กรัม ต่อหน่วยบริโภค (50 กรัม) เทียบเท่ากับโปรตีนจากไข่ไก่ 2 ฟอง สามารถบริโภคทดแทนได้
• มีความปลอดภัยผลจากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
• ไม่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองและแป้ง
• เก็บรักษาที่อุณหภูมิแช่แข็ง (-20 องศาเซลเซียส) ประมาณ 12 เดือน
เม็ดอัลมอนด์เคลือบโปรตีนจิ้งหรีด
• ปริมาณโปรตีน 3 กรัม และไขมัน 6 กรัม ต่อหน่วยบริโภค (15 กรัม หรือประมาณ 5 เม็ด) ซึ่งมีโปรตีนสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในท้องตลาด
• ไม่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง
• ไม่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวาน
• เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องประมาณ 3 เดือน
โปรตีนแผ่นกรอบจากจิ้งหรีดรสซอสพริกศรีราชา
• ปริมาณโปรตีน 10 กรัม และไขมัน 1.5 กรัม ต่อหน่วยบริโภค (20 กรัม)
• มีโปรตีนสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในท้องตลาด
• ไม่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง
• เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 6 เดือน |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
พรรณน์ภา คณาณุวัฒน์ |
โทรศัพท์ |
025779000 ต่อ 9438 |
Email |
pannipa@tistr.or.th |
กองบริการธุรกิจนวัตกรรม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนจากจิ้งหรีด"
|
|