กรรมวิธีผลิตโปรตีนถั่วมะแฮะเข้มข้นและโปรตีนถั่วมะแฮะไฮโดรไลเสท |
นักวิจัย |
|
ดร.ศิริพร บุตรสีโคตร ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
องค์ความรู้ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
โปรตีนถั่วมะแฮะและถั่วเขียวสกัดด้วยการทำเข้มข้นและตกตะกอนโปรตีน ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีองค์ประกอบของโปรตีนสูงถึงร้อยละ 80 ขึ้นไป ปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด และกรดอะมิโนสายโซ่กิ่งสูง (Branch chain amino acid: BCAA) ปริมาณไขมันต่ำ อีกทั้งโปรตีนมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระในระดับหลอดทดลอง เปปไทด์หรืออนุพันธ์โปรตีนถั่วมะแฮะและถั่วเขียวไฮโดรไลเสท ผลิตจากกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์โปรตีเอสให้ได้เปปไทด์ขนาดเล็ก และสายสั้น มีปริมาณโปรตีนมากกว่าร้อยละ 70 ไขมันต่ำ คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนถั่วมะแฮะและถั่วเขียวไฮโดรไลเสทมีความสามารถการดูดซับน้ำ/น้ำมัน ความสามารถในการเกิดอิมัลชัน ความสามารถในการเกิดโฟมได้ดี มีปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นทั้งหมด และกรดอะมิโนสายโซ่กิ่งปริมาณสูง (Branch chain amino acid: BCAA) ดังนั้นจึงสามารถเป็นแหล่งโปรตีนพืชทางเลือก ทดแทนแหล่งโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ และนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหารฟังก์ชัน |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ปริมาณโปรตีนสูง และมีกรดอะมิโนจำเป็นทั้งหมด กรดอะมิโนสายโซ่กิ่งสูง (BCAA) ซึ่งมีประโยชน์ต่อกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ และช่วยส่งเสริมมวลกล้ามเนื้อ ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้รับประทานอาหารเจ และมังสวิรัติ ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิตโปรตีนและเปปไทด์ โปรตีนจากพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการตัดต่อพันธุกรรม ประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่มีโปรตีนสูง
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
พรรณนิภา คณาณุวัฒน์ |
โทรศัพท์ |
025779000 ต่อ 9438 |
Email |
pannipa@tistr.or.th |
กองบริการธุรกิจนวัตกรรม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีผลิตโปรตีนถั่วมะแฮะเข้มข้นและโปรตีนถั่วมะแฮะไฮโดรไลเสท"
|
|