นวัตกรรมสเปรย์เคลือบพอลิเมอร์ชีวภาพ: ให้กลิ่นหอมและต้านเชื้อจุลชีพ
นักวิจัย  
รองศาสตราจารย์ ดร.อมร ไชยสัตย์
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียาภรณ์ ไชยสัตย์
นายณัฐวุฒิ รอดทุกข์
นางสาวเนตรนภา กำลังมาก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002261 ยื่นคำขอวันที่ 2 กรกฎาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การใช้พอลิเมอร์ที่เป็นไบโอชีวภาพกำลังได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาการตกค้างของพอลิเมอร์ในแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม ซึ่งยูจีนอลสามารถเป็นหนึ่งในมอนอเมอร์ชีวภาพในการเตรียมพอลิเมอร์แคปซูล งานวิจัยนี้สนใจที่จะเตรียมพอลิเมอร์แคปซูลกักเก็บสารหอมที่มีหมู่ควอเทอนารีแอมโมเนียมและเบนโซฟีโนนที่ผิวสำหรับใช้เป็นสารเคลือบต้านเชื้อจุลชีพบนพื้นผิววัสดุ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สเปรย์เคลือบผิววัสดุจากพอลิเมอร์ชีวภาพแคปซูลหุ้มสารให้กลิ่นหอมที่มีสารกลุ่มควอเทอร์นารี แอมโมเนียม (QAC12) และเบนโซฟีโนน (BP) ที่ผิว สามารถเตรียมได้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แบบมินิอิมัลชัน ซึ่งจะได้พอลิเมอร์แคปซูลมีลักษณะเป็นทรงกลมขนาดใกล้เคียงกัน มีขนาดระดับนาโนเมตร โดยสารกลุ่มควอเทอร์นารี แอมโมเนียม เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงในการต้านเชื้อจุลชีพ เนื่องจากหมู่คิวเอซี12 ติดอยู่ที่ผิวของพอลิเมอร์แคปซูล (ไม่สลายตัว) จะสามารถต้านเชื้อจุลชีพได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ พอลิเมอร์แคปซูลยังสามารถเคลือบติดกับวัสดุ เช่น ผ้า ได้อย่างทนนาน ผ่านพันธะโควาเลนต์ของ C-C จากเบนโซฟีโนนโดยการกระตุ้นด้วยแสง UV อีกทั้งยังมีประสิทธิในการกักเก็บสารหอมภายในแคปซูลได้นานกว่า 2 เดือน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณภูชิษา รัตนศีล (กรุณาติดต่อในวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์ 025494493
Email phushisa_r@rmutt.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมสเปรย์เคลือบพอลิเมอร์ชีวภาพ: ให้กลิ่นหอมและต้านเชื้อจุลชีพ"