เครื่องดื่มน้ำสับปะรดผสมสับปะรดไซเดอร์ |
นักวิจัย |
|
ศาสตราจารย์จินตนาภรณ์ วัฒนธร และคณะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303001192 ยื่นคำขอวันที่ 28 เมษายน 2566 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ไซเดอร์ หรือ น้ำส้มสายชูที่หมักจากวัตถุดิบที่เป็นน้ำผลไม้ด้วยเชื้อจุลินทรีย์หรือยีสต์เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้รักสุขภาพ คุณสมบัติโดยทั่วไปของไซเดอร์จะมีความเป็นกรดสูงและมีรสเปรี้ยว มีประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น ช่วยย่อยอาหาร ชะลอความแก่ก่อนวัย ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตสูง ลดการ อักเสบ เป็นต้น ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ แอปเปิ้ลไซเดอร์ สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยที่มักประสบปัญหาราคาที่ผันผวน จึงมักมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสับปะรดเพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งนี้ สับปะรดเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีความน่าสนใจในการพัฒนาเป็นไซเดอร์ เนื่องจากหาได้ง่ายในประเทศไทย มีราคาไม่สูง มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหอมเฉพาะตัว มีน้ำตาลและกรดผลไม้โดยธรรมชาติ และยังไม่เคยถูกนำมาพัฒนาเป็นไซเดอร์มาก่อน ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาเครื่องดื่มจากสับปะรดที่ผสมน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดภาวะความผิดปกติของเมแทบอลิก และช่วยเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณประโยชน์แก่เครื่องดื่มดังกล่าวอีกด้วย |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• มีคาร์โบไฮเดรต 18-20 % โปรตีน 0.1-0.2 % ไขมัน 0.01-0.05 % โซเดียม 0.09-0.1 % และค่าความหวาน 18-22 องศาบริกซ์
• ทำการศึกษาในอาสาสมัคร จำนวน 46 คน ทำการวัดค่าก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์ตามการประดิษฐ์ และหลังบริโภคผลิตภัณฑ์ตามการประดิษฐ์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถสรุปได้ว่าสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ และสามารถลดค่าเอจีอี (AGEs) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพ เป็นสาเหตุสาคัญของการเกิดริ้วรอย และความชราได้เมื่อบริโภคในปริมาณ 30 มิลลิลิตรต่อวัน
• อยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่าย สะดวก เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จินดาพร พลสูงเนิน |
โทรศัพท์มือถือ |
086-451-4455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องดื่มน้ำสับปะรดผสมสับปะรดไซเดอร์"
|
|