สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสำหรับชะลอการสุกของผลไม้ |
นักวิจัย |
|
รศ.ดร.พรนภา เกษมศิริ และคณะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 20164 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
การเน่าเสียของผลไม้เกิดจากการที่ผลไม้ผลิตแก๊สเอทิลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่ช่วยเร่งการสุกของผลไม้ หากมีแก๊สเอทิลีนมากจะทำให้ผลไม้สุกเร็ว มีอายุการเก็บรักษาที่สั้น ดังนั้นการกำจัดแก๊สเอทิลีนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและคงความสดใหม่ของผลไม้ได้ การใช้ปฏิกิริยา Photocatalytic oxidation สามารถช่วยลดการเกิดแก๊สเอทิลีนได้ แต่ปฏิกิริยานี้จะต้องถูกกระตุ้นด้วยแสงและต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาต้องสามารถตอบสนองต่อแสง UV ได้เท่านั้น จึงมีการนำอนุภาคนาโนมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเนื่องจากอนุภาคนาโนมีคุณสมบัติตอบสนองต่อแสงที่มองเห็นได้และสามารถสังเคราะห์ได้จากสารสกัดผักและผลไม้ นอกจากปัจจัยเรื่องแก๊สเอทิลีนที่จะทำให้เกิดการเน่าเสียแล้ว การเจริญเติบโตของแบคทีเรียก็เป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าเสียได้เช่นกันจากปัญหาข้างต้น ผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดค้นกระดาษชะลอการสุกของผลไม้ ซึ่งกระดาษจะเคลือบด้วยสารพิเศษที่มีคุณสมบัติสามารถชะลอการสุกของผลไม้ที่บรรจุในกล่องได้ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
- ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ โดยลดการเกิดแก๊สเอทิลีนจากปกติได้ถึง 83.57%
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย E.Coli และ S.aureus ได้
- มีผลการทดลองในมะม่วง โดยสามารถช่วยชะลอการสุก และยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงได้นานกว่าปกติ 7 วัน |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จินดาพร พลสูงเนิน |
โทรศัพท์มือถือ |
0864514455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสำหรับชะลอการสุกของผลไม้"
|
|