คอนกรีตพรุนจีโอโพลิเมอร์ผสมเสร็จผสมซีโอไลต์สำหรับระบบการระบายน้ำและกระบวนการผลิต
นักวิจัย  
รศ.ดร.ดวงฤดี ฉายสุวรรณ
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 9901001234 ยื่นคำขอวันที่ 1 มกราคม 2567
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เป็นผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยที่เกิดบ่อย และรุนแรงมากขึ้น ปริมาณฝนที่ตกหนักมากขึ้นในบางช่วงเวลาประกอบกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เป็นผลให้เกิดการระบายน้ำไม่ทันและเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงขึ้นบ่อยครั้งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย คอนกรีตพรุนจีโอโพลิเมอร์ผสมเสร็จผสมซีโอไลต์มีความสามารถในการระบายน้ำเนื่องมาจากลักษณะภายในของวัสดุที่มีช่องว่าง ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ การใช้งานคอนกรีตพรุนจีโอโพลิเมอร์ผสมเสร็จจึงมีข้อดีซึ่งช่วยลดปัญหาท่วมขังในพื้นที่ที่นำไปติดตั้ง การผลิตคอนกรีตพรุนโดยใช้จีโอโพลิเมอร์เพสต์เป็นวัสดุเชื่อมประสาน (เพื่อทดแทนการใช้ซีเมนต์เพสต์) โดยการใช้เถ้าลอย จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเมตาเคโอลิน สารตัวเติมชนิดซีโอไลต์ ผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และโซเดียมซิลิเกต จากนั้นผสมกับหิน กรวด เศษอิฐ (เศษเหลือทิ้งจากโรงอิฐในประเทศ) ที่มีการคัดขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วผลิตเป็น “แผ่น” ผสมเสร็จเทหล่อเป็น “พื้น”
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ปัญหาวัสดุปูพื้นทางที่ทำจากคอนกรีต หรือยางมะตอยมีอัตราการซึมน้ำต่ำ ทำให้น้ำรอการระบายเกิดการท่วมขังบนผิวทาง ปัจจุบันการออกแบบระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งการผลิตคอนกรีตพรุนจีโอโพลิเมอร์ผสมเสร็จชนิดแผ่นอิฐ และพื้นเทหล่อ มีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ณ อุณหภูมิห้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในภาคชุมชน และอุตสาหกรรม นอกจากนั้น ต้นทุนในการผลิตยังมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของคอนกรีตพรุนที่ผลิตจากซีเมนต์ในท้องตลาด ดังนั้น งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวัสดุทางเลือกที่ใช้ประโยชน์ในเรื่องการระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอิฐ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสมบัติเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด และสามารถลดต้นทุนพร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอิฐตลอดจนเมื่อประเมินค่าใช้จ่ายในการผลิตอิฐจีโอโพลิเมอร์พรุนมีราคาต่ำกว่าคอนกรีตพรุนจากปูนซีเมนต์ในท้องตลาดประมาณ 30 %
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
น.ส.ลาภมณี รักแจ้ง
โทรศัพท์ 029428812 ต่อ 404
โทรศัพท์มือถือ 0894951651
Email psdlnr@ku.ac.th
สำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "คอนกรีตพรุนจีโอโพลิเมอร์ผสมเสร็จผสมซีโอไลต์สำหรับระบบการระบายน้ำและกระบวนการผลิต"