ข้อเข่าเทียมสุนัขสำหรับรักษากระดูกสะบ้าเคลื่อนหลุด
นักวิจัย  
รศ.ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์
ผศ.น.สพ.ดร.ชัยกร ฐิติญาณพร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 19779
สิทธิบัตร เลขที่ 19780
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ชุดข้อเข่าเทียมประกอบด้วยฝาครอบกระดูกต้นขาและแป้นกระดูกหน้าแข้ง ฝาครอบกระดูกต้นขามีคอนดายล์ด้านเลเทรอลที่สูงกว่าด้านมีเดียล มีร่องเลื่อนกระดูกสะบ้าที่ลึก ป้องกันกระดูกสะบ้าเคลื่อนหลุดทางเลเทรอล แป้นกระดูกหน้าแข้งมีเสาหมุดเพื่อสร้างความเสถียรข้อเข่าเมื่อเคลื่อนไหว โดยการทดสอบทางชีวกลศาสตร์ด้วยเครื่องทดสอบการเคลื่อนไหวของข้อเข่า (Knee Kinamatics) การทดสอบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มข้อเข่าปกติ กลุ่มข้อเข่าที่เอ็นไขว้ข้อเข่าขาด กลุ่มข้อเข่าเทียมปกติ และกลุ่มกลุ่มข้อเข่าตามการประดิษฐ์นี้ การทดสอบประกอบด้วย Extension, Flexion, Range of motion, Abduction, Adduction, Internal rotation, External rotation, Cranial Translation และ Caudal Translation ผลการทดสอบพบว่าข้อเข่าเทียมตามการประดิษฐ์นี้ใกล้เคียงกับข้อเข่าปกติ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ฝาครอบกระดูกต้นขา (Femoral Prosthesis) ถูกออกแบบให้สันคอนดายล์ (Condyle) มีขนาดสูงกว่าข้อเข่าเทียมทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้สันคอนดายล์ด้านเลเทอรอล (Lateral) สูงกว่าด้านมีเดียล (Medial) ทำให้มีร่องเคลื่อนกระดูกสะบ้าที่ลึกและป้องกันการหลุดออกของกระดูกลูกสะบ้าซึ่งเกิดทางด้านเลเทอรอล แป้นกระดูกหน้าแข้ง (Tibial Tray) ของข้อเข่าเทียมสำหรับสุนัขมีเสาหมุด (Peg) ทำให้การเคลื่อนไหวข้อเข่าที่ใส่ชุดข้อเข่าเทียมมีความใกล้เคียงกับข้อเข่าปกติ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
น.ส.ลาภมณี รักแจ้ง
โทรศัพท์ 029428812 ต่อ 404
Email psdlnr@ku.ac.th
สำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ข้อเข่าเทียมสุนัขสำหรับรักษากระดูกสะบ้าเคลื่อนหลุด"