เครื่องอัดขยะ
นักวิจัย  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนูศักดิ์​ จานทอง
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรพจน์ เวศพันธุ์
นายอภิสิทธิ์ เหมือนเมือง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2402000528 ยื่นคำขอวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งพลังงานในประเทศไทยมีอัตราการผลิตไม่เพียงพอกับอัตราการใช้ จำเป็นต้องมีการนำเข้าพลังงานอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2566 และจากแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกและปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สูงขึ้นถือเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่ส่งผลให้ทุกประเทศนอกจากการมุ่งหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นแล้วจำเป็นต้องให้ความสนใจต่อการประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น จึงต้องมีการหาแหล่งพลังงานอย่างอื่นมาใช้ทดแทนเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ชีวมวลที่สามารถหาได้ง่าย เช่น พลังงานทดแทนในรูปแบบของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง เป็นแนวทางปฏิบัติที่ตอบสนองต่อปัญหาที่ทำให้บรรเทาหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องอัดขยะอัดแท่ง มีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ชุดเกลียวอัด เป็นอุปกรณ์สำหรับอัดพลาสติกกับชีวมวล ซึ่งมีฮีตเตอร์ให้ความร้อน เพื่อละลายพลาสติกประสานตัวกับชีวมวล โดยมีมอเตอร์กระแสสลับขับเพลาของเกลียวอัดผ่านเกียร์ทด ส่วนที่ 2 ถังบรรจุพลาสติกและถังบรรจุชีวมวล ส่วนที่ 3 ชุดสายพานลำเรียง ทำหน้าที่ลำเรียงพลาสติกและชีวมวลไปเกลียวอัด ซึ่งชุดสายพานถูกขับเคลื่อนด้วยสเต็ปปิ้งมอเตอร์ ส่วนที่ 4 ชุดลดอุณหภูมิก้อนเชื้อเพลิงแข็ง ช่วยลดอุณหภูมิของพลาสติกให้จับตัวกับชีวมวลออกมาเป็นแท่ง ส่วนที่ 5 ชุดตัด ทำหน้าที่ตัดก้อนเชื้อเพลิงแข็ง ที่ออกมาจากปลายกระบอกอัดให้มีความยาวของก้อนเชื้อเพลิงแข็งตามที่ต้องการ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณเพียงธาร ไชยสิงกาล (กรุณาติดต่อในวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์ 025494493
Email piangthan_c@rmutt.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องอัดขยะ"